Datasets:
year
stringclasses 4
values | no
int64 1
50
| instruction
stringlengths 39
703
| input
stringlengths 23
651
⌀ | result
int64 1
4
| isAnswerable
bool 1
class | isMultipleChoice
bool 1
class | isSingleChoiceSolution
bool 1
class | SolutionExplain
stringlengths 33
1.26k
|
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
example | 1 | หน่วยงานที่ ทําหน้าที่ กํากับดูแลและพัฒนาตลาดทุนของประเทศไทย คือหน่วยงานใด | 1. ธนาคารแห่งประเทศไทย 2. สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. 3. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 4. คณะกรรมการนโยบายการเงิน | 2 | true | true | true | สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลและพัฒนา ตลาดทุนไทย รวมถึงการออกประกาศเพื่อบังคับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆต่อผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องในธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อให้การดำเนินการและการพัฒนาตลาดทุนเป็นไปอย่าง ต่อเนื่องและมั่นคงในระยะยาว |
example | 2 | การดำเนินการในตัวเลือกใด ไม่ใช้ บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย | 1. การปรับลดอัตราดอกเบีQยนโยบาย 2. การทําธุรกรรม Swap กับสถาบันการเงิน 3. การซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลกับ Primary Dealer 4. การปรับลดอัตราภาษีเงินได้ | 4 | true | true | true | ตัวเลือกที่ 1, 2, 3 จัดเป็นการดำเนินการของธนาคารแห่งประเทศไทยผ่านตลาดการเงิน ส่วนตัวเลือกที่ 4 เป็นการดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาล ไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย |
example | 3 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้เป็นการลงทุนโดยตรงในตลาดการเงินระหว่างประเทศ | 1. นาย ก. ซึ่งเป็นผู้ลงทุนชาวไทยลงทุนในหุ้นสามัญของ Apple Inc. ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา 2. ธนาคารรักชาติไทยซึ่งเป็นธนาคารที่จดทะเบียนในประเทศไทยลงทุนในหุ้นกู้อายุ 20 ปี ซึ่งออกและเสนอขายโดยธนาคารที่จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ 3. บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่จดทะเบียนในประเทศไทยร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจจัดตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศอินโดนิเซีย 4. นาย ข. ซึ่งเป็นผู้ลงทุนชาวไทยลงทุนในกองทุน FIF ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทญี่ปุ่นที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นญี่ปุ่น | 3 | true | true | true | การลงทุนโดยตรงเป็นการส่งผ่านเงินลงทุนโดยไม่ผ่านสื่อกลางทางการเงิน แต่เป็นการเข้า ไปลงทุนโดยตรงในประเทศที่ผู้ลงทุนสนใจและพิจารณาแล้วว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสมแก่ การลงทุน เช่น การเข้าไปลงทุนจัดตั้งและบริหารโรงงานผลิตสินค้าในประเทศที่ผู้ลงทุนเห็น ว่ามีโอกาสทางธุรกิจที่ดีและมีความเสี่ยงในระดับที่รับได้ ตัวเลือก 1), 2) และ 4) เป็นการลงทุนแบบทางอ้อม ซึ่งเป็นการเข้าลงทุนในตราสารทาง การเงินของบริษัทในต่างประเทศ |
example | 4 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้จัดเป็นความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk) | 1. ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) 2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk) 3. ความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ (Economic Downturn Risk) 4. ความเสี่ยงทางด้านเครดิต (Credit Risk) | 3 | true | true | true | ตัวเลือกที่ 1, 2 และ 4 เป็นความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ (Unsystematic Risk) ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากลักษณะเฉพาะตัวของหลักทรัพย์นั้นๆ ตัวเลือกที่ 3 เป็นความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk) คือความเสี่ยงที่บริษัทไม่สามารถควบคุมได้และส่งผลกระทบต่อหลักทรัพย์ทุกๆ ในตลาด |
example | 5 | ตัวเลือกใดเป็นปัจจัยกำหนดอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ (Required Rate of Return) ในการพิจารณาเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ | 1. โอกาสที่ราคาหลักทรัพย์จะสูงขึ้น 2. เงินปันผลที่นักลงทุนจะได้รับ 3. อัตราผลตอบแทนปราศจากความเสี่ยงที่แท้จริง ส่วนชดเชยเงินเฟ้อที่คาด ส่วนชดเชยความเสี่ยง 4. อัตราผลตอบแทนปราศจากความเสี่ยงที่เป็นตัวเงิน ส่วนชดเชยเงินเฟ้อที่คาด ส่วนชดเชยความเสี่ยง | 3 | true | true | true | อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการ = อัตราผลตอบแทนปราศจากความเสี่ยงที่แท้จริง + ส่วนชดเชยเงินเฟ้อที่คาด + และส่วนชดเชยความเสี่ยง |
example | 6 | ผู้ลงทุนรายหนึ่งลงทุนในตัวเงินคลังที่ให้อัตราผลตอบแทนเท่ากับ 4% โดยมีอัตราผลตอบแทนที่ต้องการเท่ากับ5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันเท่ากับ 1.5% อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงที่ปราศจากความเสี่ยง ที่ผู้ลงทุนจะได้รับเท่ากับเท่าใด | 1. หุ้น AAA 2. หุ้น BBB 3. หุ้น CCC 4. ไม่สามารถสรุปได้จากข้อมูลที่มีอยู่ | 1 | true | true | true | ตัวเงินคลังเป็นตัวแทนอัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินที่ปราศจากความเสี่ยง = 4% อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินที่ปราศจากความเสี่ยง = อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินที่ ปราศจากความเสี่ยง - อัตราเงินเฟ้อ = 4% - 1.5% = 2.5% |
example | 7 | กำหนดให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอัตราผลตอบแทนของหุ้น AAA , BBB และ CCC เป็นไปตามตารางข้างล่างดังต่อไปนี้ผู้ลงทุนควรตัดสินใจเลือกลงทุนในหุ้นตัวใด | null | 3 | true | true | true | จากการคำนวณในตารางข้างต้น จะเห็นว่าหุ้น CCC มีค่า Coefficient of Variation หรือ CV ต่ำสุด ซึ่งเท่ากับ 0.75 ซึ่งแสดงว่าหุ้น CCC มีความเสี่ยงต่อหนึ่งหน่วยผลตอบแทนต่ำกว่าหุ้น AAA และ BBB ดังนั้นผู้ลงทุนควรเลือกลงทุนในหุ้น CCC |
example | 8 | หุ้นสามัญของบริษัทแห่งหนึ่งมีราคาตอนต้นปีเท่ากับ 60 บาทต่อหุ้น ในระหว่างปี บริษัทจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตรา 3 บาทต่อหุ้น และในระหว่างปี บริษัทได้ออกหุ้นเพิ่มทุน โดยให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมในการซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ในอัตรา 1 หุ้นเดิมต่อหุ้นใหม่ 1 หุ้น ในราคาหุ้นละ 55 บาท ตอนสิ้นปี ราคาหุ้นของบริษัทอยู่ที่ 70 บาท จงคำนวณหาผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทดังกล่าว | 1. 22% 2. 25% 3. 30% 4. 47% | 4 | true | true | true | HPR =[3+(70-60)+(70-55)]/60 = 47% |
example | 9 | ในกรณีที่ผู้ลงทุนต้องการทราบเกี่ยวกับแหล่งที่มาและใช้ไปของกระแสเงินสดของกิจการ ในระหว่างงวดบัญชี ผู้ลงทุนควรพิจารณาและวิเคราะห์งบการเงินใดดังต่อไปนี้ จึงจะเหมาะสมที่สุด | 1. งบแสดงฐานะการเงิน 2. งบกระแสเงินสด 3. งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ 4. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น | 2 | true | true | true | ในกรณีที่ผู้ลงทุนต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสดของกิจการในระหว่างงวด ผู้ลงทุนควรจะต้องพิจารณางบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flows) ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสดของกิจการจากกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Cash Flows), กิจกรรมการลงทุน (Investing Cash Flows) และกิจกรรมการจัดหาเงินทุน (Financing Cash Flows) |
example | 10 | ตลาดหลักทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพในระดับต่ำ การวิเคราะห์หลักทรัพย์รูปแบบใดจะไม่สามารถสร้างผลกำไรที่เกินปกติได้ | 1. การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน 2. การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยเชิงเทคนิค 3. การวิเคราะห์งบการเงิน 4. การวิเคราะห์โดยอาศัยข้อมูลภายในของบริษัท | 2 | true | true | true | ตลาดที่มีประสิทธิภาพในระดับต่ำเป็นตลาดที่ราคาหลักทรัพย์ได้สะท้อนข้อมูลข่าวสารในอดีตที่เกิดขึ้นแล้ว โดยสามารถเรียกข้อมูลเหล่านี้ว่าเป็นข้อมูลตลาดซึ่งหมายถึงข้อมูลเกี่ยวกับราคาและการซื้อขายในอดีตของหลักทรัพย์ ดังนั้น ถ้าผู้ลงทุนเชื่อว่าตลาดมีประสิทธิภาพในระดับต่ำ การวิเคราะห์การลงทุนโดยใช้ข้อมูลตลาด เช่น การวิเคราะห์เชิงเทคนิค ไม่สามารถทำให้ผู้ลงทุนสร้างกำไรเกินปกติ (Abnormal Return) ได้อย่างสม่ำเสมอ |
example | 11 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้เรียงลำดับขั้นตอนการวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐานแบบบนลงล่าง (Top Down Analysis) ได้ถูกต้อง | 1. การวิเคราะห์เศรษฐกิจ การวิเคราะห์บริษัท การวิเคราะห์อุตสาหกรรม 2. การวิเคราะห์อุตสาหกรรม การวิเคราะห์เศรษฐกิจ การวิเคราะห์บริษัท 3. การวิเคราะห์เศรษฐกิจ การวิเคราะห์อุตสาหกรรม การวิเคราะห์บริษัท 4. การวิเคราะห์บริษัท การวิเคราะห์อุตสาหกรรม การวิเคราะห์เศรษฐกิจ | 3 | true | true | true | ลำดับขั้นของการวิเคราะห์แบบบนลงล่าง (Top Down Analysis) ได้แก่ 1) การวิเคราะห์เศรษฐกิจ 2) การวิเคราะห์อุตสาหกรรม 3) การวิเคราะห์บริษัท |
example | 12 | ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในช่วงชะลอตัว และการลงทุนภาคเอกชนลดต่ำลงอย่างมาก รัฐบาลควรใช้นโยบายการคลังตามตัวเลือกใด เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ | 1. การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2. การเพิ่มอัตราภาษี 3. การเพิ่มปริมาณเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ 4. การใช้นโยบายการคลังแบบขาดดุล | 4 | true | true | true | ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในช่วงชะลอตัว รัฐบาลควรใช้นโยบายการคลังแบบขาดดุล โดยการลดอัตราภาษีและเพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างงานในระบบเศรษฐกิจ ส่วนข้อ 1. แม้ว่าการลดอัตราดอกเบี้ยเป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่นโยบายดอกเบี้ยถือว่าเป็นนโยบายการเงิน |
example | 13 | ข้อมูลทางการเงินของบริษัท ค. จำกัด สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 25X8 มีดังต่อไปนี้ งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ: หน่วย: ล้านบาท ยอดขายรวม 4,000 ต้นทุนขายและให้บริการ 2,500 ค่าใช้จ่ายอื่นๆในการดำเนินธุรกิจ 1,000 กำไรสุทธิ 500 กำไรสุทธิต่อหุ้น (บาท) 2.50 บาท งบแสดงฐานะทางการเงิน: หน่วย: ล้านบาท สินทรัพย์หมุนเวียน 4,000 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 2,000 สินทรัพย์รวม 6,000 หนี้สินรวม 4,000 ส่วนของผู้ถือหุ้น 2,000 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 6,000 จากข้อมูลข้างต้นตัวเลือกใดสรุปไม่ถูกต้อง | 1. อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) เท่ากับ 37.50% 2. อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) เท่ากับ 20% 3. อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 2 เท่า 4. มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นเท่ากับ 10 บาท | 2 | true | true | true | 1) อัตรากำไรขั้นต้นเท่ากับ (4,000-2,500)/4,000 =37.50% 2) อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 500/2,000 = 25% 3) อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 4,000/2,000 = 2 เท่า 4) เนื่องจากบริษัทมีกำไรสุทธิต่อหุ้นเท่ากับ 2.50 บาท ดังนั้น บริษัทมีจำนวนหุ้นที่ ชำระแล้วทั้งสิ้น 200 ล้านหุ้น (500 ล้านบาท/2.50 บาท) ดังนั้น มูลค่าตามบัญชีต่อ หุ้นเท่ากับ 2,000/200 = 10 บาท |
example | 14 | ในช่วงที่ตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้น (Bullish Market) ถ้าท่านใช้กลยุทธ์การบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ในเชิงรุก (Active Strategy) ท่านควรดำเนินการเช่นใด | 1. ลดการถือครองเงินสดและลงทุนในหุ้นให้มากขึ้น โดยเน้นการลงทุนในหุ้นที่มีค่าเบต้ามากกว่า 1 2. ลดการถือครองเงินสดและลงทุนในหุ้นให้มากขึ้น โดยเน้นการลงทุนในหุ้นที่มีค่าเบต้าน้อยกว่า 1 3. เพิ่มการถือครองเงินสดและลดการลงทุนในหุ้น โดยเน้นการลงทุนในหุ้นที่มีค่าเบต้าเท่ากับ 1 4. เพิ่มการถือครองเงินสดและลดการลงทุนในหุ้น โดยเน้นการลงทุนในหุ้นที่มีค่าเบต้าเท่ากับ 0 | 1 | true | true | true | ในช่วง Bullish Market ผู้บริหารกลุ่มหลักทรัพย์ควรปรับสัดส่วนการลงทุนให้มีการลงทุนในหุ้นให้ มากที่สุดและอาจเพิ่มค่เบต้าของพอร์ตการลงทุนเพื่อที่พอร์ตการลงทุนจะได้ตอบสนองต่อการ เพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนของตลาด (Market Return) ได้มากขึ้น รวมถึงลดสัดส่วนการถือ ครองเงินสด |
example | 15 | กำหนดให้อัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยงเท่ากับ 6% อัตราผลตอบแทนของกลุ่มหลักทรัพย์ตลาดเท่ากับ 13.5% และค่าเบต้าของหลักทรัพย์ A มีค่าเป็น 2 เท่าของค่าเบต้าตลาด อัตราผลตอบแทนที่ต้องการของหลักทรัพย์ A จะมีค่าเท่าใด | 1. 6.00% 2. 9.75% 3. 13.50% 4. 21.00% | 4 | true | true | true | ค่าเบต้าตลาดมีค่าเท่ากับ 1 ดังนั้นค่าเบต้าของหลักทรัพ A มีค่าเท่ากับ 2 อัตราผลตอบแทนที่ ต้องการของหลักทรัพย์ A = 6% + (13.5% - 6%)2 = 21.00% |
example | 16 | ตัวเลือกใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดของการบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ | 1. ผู้ลงทุนเป็นผู้ที่กลัวความเสี่ยงดังนั้นหากมีทางเลือกในการลงทุน 2 ทางเลือกที่มีอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเท่ากัน แต่มีระดับความเสี่ยงที่ต่างกัน ผู้ลงทุนจะเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า 2. กลุ่มหลักทรัพย์ที่มีการกระจายการลงทุนเป็นอย่างดี จะไม่มีความเสี่ยงในการลงทุน 3. แนวคิดที่ว่าผู้ลงทุนเป็นผู้ที่กลัวความเสี่ยงจะทำให้เส้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากการลงทุนและความเสี่ยงเป็นเส้นที่ทอดขึ้นจากล่างซ้ายไปบนขวา 4. การที่ระดับการกลัวความเสี่ยงของผู้ลงทุนแต่ละคนไม่เท่ากัน จะทำให้สัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงแต่ละประเภทของผู้ลงทุนแต่ละคนแตกต่างกันออกไป | 2 | true | true | true | แนวคิดที่สำคัญประการหนึ่งของการบริหารกลุ่มหลักทรัพย์คือแนวคิดที่ว่าผู้ลงทุนเป็นผู้ที่กลัวความเสี่ยง กล่าวคือ หากการลงทุนมีความเสี่ยงมากขึ้น ผู้ลงทุนย่อมคาดหวังอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์มากขึ้นซึ่งจะทำให้เส้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากการลงทุนและความเสี่ยงเป็นเส้นที่ทอดขึ้นจากล่างซ้ายไปบนขวา ทั้งนี้ผู้ลงทุนแต่ละคนจะมีระดับการกลัวความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะทำให้สัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงแต่ละประเภทของผู้ลงทุนแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป แนวคิดที่ว่าผู้ลงทุนเป็นผู้ที่กลัวความเสี่ยงหรือต้องการหลีกหนีความเสี่ยงจะทำให้เราสามารถสรุปได้ว่าหากผู้ลงทุนมีทางเลือกในการลงทุน 2 ทางเลือกที่มีอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเท่ากัน แต่มีระดับความเสี่ยงที่ต่างกัน ผู้ลงทุนย่อมเลือกทางเลือกในการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า และถ้าผู้ลงทุนมีทางเลือกในการลงทุน 2ทางเลือกที่มีระดับความเสี่ยงที่เท่ากันแต่มีระดับผลตอบแทนที่คาดหวังแตกต่างกันผู้ลงทุนจะเลือกทางเลือกในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ตัวเลือกที่ 2 ไม่ถูกต้อง เพราะถึงแม้ว่ากลุ่มหลักทรัพย์ที่มีการกระจายการลงทุนเป็นอย่างดี (Well-Diversified Portfolio) กลุ่มหลักทรัพย์ดังกล่าวก็จะยังมีความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk) ยังเหลืออยู่ โดยความเสี่ยงที่เป็นระบบจะเป็นความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการลงทุนในหลักทรัพย์ทุกประเภทและไม่สามารถขจัดไปได้ด้วยการกระจายการลงทุน |
example | 17 | ผู้ลงทุนท่านหนึ่งลงทุนในหุ้นสามัญ AAA ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมทั้งเปิดสถานะซื้อพุทธาคติ หุ้นสามัญ AAA ของท่านหนึ่งจะมีสถานะอย่างไร | 1. ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพิจารณาสถานะซื้อของหุ้นสามัญ AAA ด้วยความพึงใจ 2. ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะไม่รับรู้สถานะซื้อของหุ้นสามัญ AAA 3. ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะให้สถานะซื้อของหุ้นสามัญ AAA เป็นสถานะพุทธาคติ 4. ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะกำหนดสถานะของหุ้นสามัญ AAA เป็นสถานะซื้อปกติ | 1 | true | true | true | ผู้ลงทุนท่านดังกล่าวกลัวว่าราคาของหุ้นที่เขาลงทุนจะลดลง ซึ่งจะทำให้เขาขาดทุนจากการลงทุน ผู้ลงทุนท่านดังกล่าวจึงได้ดำรงฐานะซื้อพุตออปชั่นซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ถือในการขายหลักทรัพย์หรือตัวแปรอ้างอิงในราคาที่ระบุไว้ในออปชั่นได้ ซึ่งเป็นการปกป้องความเสี่ยงของการขาดทุนจากการที่ราคาหุ้นในตลาดลดต่ำลง |
example | 18 | สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่คู่สัญญาตกลงในรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าอ้างอิง ราคา ปริมาณและเวลาส่งมอบไว้แล้ว โดยเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีความเป็นมาตรฐาน และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวสามารถซื้อขายใน ตลาดตราสารอนุพันธ์ที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทใด | 1. สัญญาฟิวเจอร์ส 2. สัญญาฟอร์เวิร์ด 3. สัญญาสวอป 4. สัญญาออปชัน | 1 | true | true | true | สัญญาฟิวเจอร์สเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่คู่สัญญาตกลงในรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าอ้างอิง ราคา ปริมาณและเวลาส่งมอบไว้แล้ว โดยเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีความเป็นมาตรฐาน ทั้งในด้านราคา ปริมาณและเวลาส่งมอบ รวมทั้งคุณภาพของสินค้าอ้างอิง การซื้อขายฟิวเจอร์สสามารถซื้อขายในตลาดที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการ โดยมีองค์กรกำกับดูแลควบคุมและติดตามให้มีการซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สอย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนดขึ้น |
example | 19 | ตัวเลือกใดดังต่อไปนี้ ไม่ใช่ การดำเนินการที่เหมาะสมในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินงานของธุรกิจหลักทรัพย์ | 1. บริษัทหลักทรัพย์ ธนารักษ์ จำกัด เปิดเผยในบทวิจัยหลักทรัพย์ของบริษัท โชคชัย จำกัด (มหาชน) ที่ออกโดยฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ว่าทางบริษัทเป็นผู้รับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุน (underwriter) ของบริษัท โชคชัย จำกัด (มหาชน) 2. บริษัทหลักทรัพย์ ธนาโชค จำกัด แต่งตั้งนายอักษรา มีเกิดผล เป็นกรรมการผู้จัดการฝ่ายวาณิชธนกิจและฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ของบริษัท 3. บริษัทหลักทรัพย์ ธนาพล จำกัด ไม่รับจัดจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารกำลังไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท 4. บริษัทหลักทรัพย์ ธนาศิริ จำกัด จัดให้มีการแยกสถานที่ทำงานอย่างชัดเจนระหว่างฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์และฝ่ายวาณิชธนกิจ | 2 | true | true | true | ผู้บริหารระดับสูงสุดของฝ่ายวาณิชธนกิจและฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ ธนาโชค จำกัด ควรเป็นคนละคนกัน เพื่อก่อให้เกิดกลไกในการตรวจสอบและถ่วงดุลการบริหาร และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ |
example | 20 | การดำเนินการใดต่อไปนี้มีความไม่เหมาะสมกับหลักทรัพย์ที่อยู่ในบัญชี watch list | 1. บริษัทหลักทรัพย์จะนำหลักทรัพย์ขึ้นบัญชี watch list เมื่อบริษัทได้รับทราบข้อมูลภายในของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ 2. หลักทรัพย์ที่อยู่ในบัญชี watch list จะได้รับการเปิดเผยให้รู้ได้เฉพาะหน่วยงานและพนักงานที่จำเป็นต้องทราบเท่านั้น 3. หลักทรัพย์ที่อยู่ในบัญชี watch list สามารถนำไปใช้เป็นหลักประกันในการเปิดบัญชีพาณิชย์ 4. หลักทรัพย์ที่อยู่ในบัญชี watch list สามารถนำไปซื้อขายโดยไม่ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง | 4 | true | true | true | เมื่อข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหลักทรัพย์ที่อยู่ใน watch list และบริษัทหลักทรัพย์ ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณชนแล้ว บริษัทหลักทรัพย์จะย้ายรายชื่อหลักทรัพย์จากบัญชี watch list ไปสู่บัญชี restricted list ต่อไป |
example | 21 | ผู้แนะนำการลงทุนคนใดต่อไปนี้มีการดำเนินการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และจริยธรรมในการทำหน้าที่ของผู้แนะนำการลงทุน | 1. นายศักดิ์ศรีใช้บัญชีของลูกค้ารายหนึ่งซื้อขายหุ้นให้แก่ลูกค้าอีกรายหนึ่ง 2. นายสะสมแนะนำให้ลูกค้าที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ต่ำมากลงทุนในหุ้นของบริษัทขนาดเล็กที่มีความผันผวนของราคาสูง 3. นายศักดาแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ต่ำ 4. นายสมหมายแจ้งให้ลูกค้ารายหนึ่งทราบว่าการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดีบริษัทหนึ่งจะให้ผลตอบแทนจากการลงทุนร้อยละ 10 ในช่วงหนึ่งปีข้างหน้า | 3 | true | true | true | ตัวเลือกที่ 1. เป็นการดำเนินการที่ไม่เหมาะสมเพราะเป็นการใช้บัญชีซื้อขายหุ้นของลูกค้า รายหนึ่งเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ลูกค้าอีกรายหนึ่ง ตัวเลือกที่ 2.เป็นการดำเนินการที่ไม่เหมาะสมเพราะเป็นการให้คำแนะนำการลงทุนที่ไม่ เหมาะกับลูกค้า ตัวเลือกที่ 4. เป็นการดำเนินการที่ไม่เหมาะสมเพราะเป็นการรับประกันผลตอบแทนจาก การลงทุนให้แก่ ลูกค้า สำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงจากการลงทุนสูงและมีความไม่แน่นอน ทางด้านราคาและผลตอบแทนจากการลงทุน ตัวเลือกที่ 3. เป็นการดำเนินการที่เหมาะสม เพราะเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสม และไม่ทำให้ลูกค้าสำคัญผิด |
example | 22 | ตัวเลือกใดดังต่อไปนี้ ไม่ใช่ ความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 | 1. การลักลอบหนีภาษีศุลกากร 2. การฉ้อโกงประชาชน 3. ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ พนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ 4. ถูกทุกตัวเลือก | 4 | true | true | true | ความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ได้แก่ยาเสพติด ความผิดเกี่ยวกับเพศ เช่น การล่อลวงค้าประเวณี การค้าประเวณีโดย การฉ้อโกงประชาชน การยักยอก ฉ้อโกง หรือประทุษร้ายต่อทรัพย์ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ พนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ การกระทำหรือรีดเอาทรัพย์โดยอ้างอำนาจหรือซ่องโจร การลักลอบหนีภาษีศุลกากร |
example | 23 | การดำเนินการในลักษณะใดต่อไปนี้ ไม่ต้อง รายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน | 1. การฝากหรือถอนเงินสดจากธนาคารพาณิชย์ในจำนวน 1.5 ล้านบาท 2. การประมูลทรัพย์สินที่ธนาคารพาณิชย์ขายทอดตลาดในจำนวนเงินทั้งสิ้น 12.5 ล้านบาท 3. การซื้อตัวสัญญาใช้เงินในมูลค่าทั้งสิ้น 3 ล้านบาท 4. การที่ลูกค้าเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่สาขาแห่งหนึ่งของบริษัทหลักทรัพย์แต่ชำระราคาค่าซื้อขายหลักทรัพย์ในหลายสาขาที่ไม่ใช่สาขาที่เปิดบัญชี | 1 | true | true | true | พรบ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกำหนดให้สถาบันการเงินต้องรายงานธุรกรรมต่อไปนี้ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทราบ ธุรกรรมที่มีการใช้เงินสดตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป เช่น การฝากหรือถอนเงินสด, การชำระราคาคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสด, การวางเงินสดในการซื้อขายหลักทรัพย์, การซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีมูลค่าตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป เช่น การประมูลทรัพย์สินที่ธนาคารพาณิชย์ขายทอดตลาด ธุรกรรมใด ๆ อันมีเหตุควรสงสัยหรือเชื่อว่าเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อยู่ในบังคับของ พรบ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือเกี่ยวข้องกับความผิดมูลฐานตาม พรบ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน |
example | 24 | การออกและเสนอขายหุ้นสามัญในลักษณะใดต่อไปนี้ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. | 1. การเสนอขายต่อประชาชนในวงกว้าง(PO) การเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้นในลักษณะของการเสนอขายหุ้นสามัญเพื่อเพิ่มทุน(PPO) 2. การเสนอขายต่อผู้รับเฉพาะกิจ ที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด(PP) 3. การเสนอขายต่อประชาชนในวงกว้าง(PO) การเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้นในลักษณะของการเสนอขายหุ้นสามัญเพื่อเพิ่มทุน(PPO) 4. การเสนอขายต่อกลุ่มลูกค้าเฉพาะที่ไม่ใช่ประชาชนในวงกว้าง(PR) | 3 | true | true | true | เมื่อบริษัทจะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง (Public Offering: PO) บริษัท ต้องขออนุญาต รวมถึงยื่นเอกสารหลักฐานต่าง ๆซึ่งรวมถึงแบบแสดงรายการข้อมูลการ เสนอขายหลักทรัพย์ ต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และจะไม่สามารถเสนอขาย หลักทรัพย์ จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ส่วนการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Rights Offering: RO) และการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนในวงจำกัด (Private Placement: PP) ไม่ต้องขอ อนุญาตสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. แต่อย่างใด หนังสือ แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 19 บทที่ 3 หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการออกและเสนอขายตราสารประเภทต่างๆ หน้า 30 |
example | 25 | ตัวเลือกใดดังต่อไปนี้ ไม่ใช่ หลักการในการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ | 1. ผู้ถือหลักทรัพย์ทุกรายจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน 2. ต้องได้รับอนุมัติการทํารายการจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นและสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. 3. มีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน 4. ผู้ถือหลักทรัพย์มีเวลาเพียงพอในการตัดสินใจ | 2 | true | true | true | ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ จะต้องมีการดำเนินตามหลักการดังต่อไปนี้ 1) ผู้ถือหลักทรัพย์ทุกรายจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน 2) มีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน 3) ผู้ถือหลักทรัพย์มีเวลาเพียงพอในการตัดสินใจ |
example | 26 | กระบวนการให้คําแนะนําการลงทุนที่เหมาะสมประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ ก. การวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินระดับความเสี่ยงที่รับได้ของผู้รับคําปรึกษา ข. การติดตามและวัดผลการลงทุนและการปรับเปลี่ยนกลุ่มหลักทรัพย์ ค. การรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ง. การจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนที่เหมาะสมกับผู้รับคําปรึกษา จ. การสร้างและบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ ตัวเลือกใดต่อไปนี้เรียงลําดับขั้นตอนของกระบวนการให้คําแนะนําการลงทุนที่เหมาะสมได้ถูกต้องที่สุด | 1. ข , ค , ก , จ , ง 2. ค , ก , ง , จ , ข 3. ค , ข , ก , ง , จ 4. ง , ก , ค , จ , ข | 2 | true | true | true | กระบวนการให้คำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสมมีลำดับขั้นดังต่อไปนี้ 1) การรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล 2) การวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของผู้รับคำปรึกษา 3) การจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนที่เหมาะสมกับผู้รับคำปรึกษา 4) การสร้างและบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ 5) การติดตามและวัดผลการลงทุนและการปรับเปลี่ยนกลุ่มหลักทรัพย์ |
example | 27 | ผู้ลงทุนที่มีช่วงอายุอยู่ในระยะอุทิศ (Gifting Phase) จะมีอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังและระดับความเสี่ยงที่รับได้เป็นอย่างไร | 1. มีอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังต่ำและมีระดับความเสี่ยงที่รับได้ต่ำ 2. มีอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังสูงแต่มีระดับความเสี่ยงที่รับได้ต่ำ 3. มีอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังต่ำแต่มีระดับความเสี่ยงที่รับได้สูง 4. มีอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังสูงและมีระดับความเสี่ยงที่รับได้สูง | 1 | true | true | true | นักลงทุนที่มีช่วงอายุอยู่ในระยะอุทิศ (เริ่มต้นตั้งแต่เกษียณอายุจากการทำงาน) จะมีระดับความเสี่ยงที่รับได้ต่ำลง เพราะเป็นช่วงที่นักลงทุนดังกล่าวไม่ได้มีงานประจำแล้ว และเป็นช่วงที่เริ่มใช้จ่ายจากทรัพย์สินที่ลงทุนและสะสมไว้ ดังนั้น อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนก็จะต่ำลง เช่นกัน เพราะในช่วงนี้ นักลงทุนควรนำเงินที่มีอยู่ไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่มีความมั่นคงและมีความเสี่ยงต่ำ |
example | 28 | ปัจจัยใดต่อไปนี้ เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงของการลงทุนในหลักทรัพย์ของประเทศไทย | 1. การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ 2. การเปลี่ยนแปลงของนโยบายสภาพการณ์เศรษฐกิจ 3. การเปลี่ยนแปลงของภาวะการณ์การเมือง 4. การเปลี่ยนแปลงของความเ | 2 | true | true | true | ทัศนคติที่มีต่อความเสี่ยงเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเต็มใจในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน ตัวเลือก 1, 3 และ 4 เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน |
example | 29 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้จัดเป็นข้อมูลเชิงปริมาณของผู้รับคำปรึกษาที่ผู้แนะนำการลงทุนควรพิจารณาในการให้คำแนะนำการลงทุนในหลักทรัพย์ | 1. ช่วงอายุของผู้ลงทุน 2. ข้อจำกัดและเงื่อนไขการลงทุน 3. ข้อมูลการเงินส่วนบุคคลของผู้ลงทุน 4. วัตถุประสงค์การลงทุน | 3 | true | true | true | ช่วงอายุ ข้อจำกัดและเงื่อนไขการลงทุน รวมถึงวัตถุประสงค์การลงทุน จัดว่าเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ส่วนข้อมูลการเงินส่วนบุคคล อันได้แก่ สินทรัพย์ ภาระหนี้สิน รายได้และต่าใช้จ่าย จัดว่าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ |
example | 30 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ไม่ใช่ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับคำปรึกษาซึ่งที่ปรึกษาการลงทุนควรพิจารณาในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน | 1. สภาวะเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศ 2. ภาระหนี้สิน 3. ประสบการณ์การลงทุน 4. แหล่งที่มาของรายได้ | 1 | true | true | true | "ตัวเลือกที่ 1 เป็นปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจมหภาคที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้รับคำปรึกษา และที่ปรึกษา ส่วนตัวเลือกที่ 2, 3 และ 4 จัดว่าเป็นปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับตำแหน่งปรึกษาซึ่งที่ปรึกษาควรให้ความสำคัญและพิจารณาในการให้คำแนะนำการลงทุน |
example | 31 | ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) จัดเป็นดัชนีราคาหุ้นประเภทใด | 1. ดัชนีชนิดถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตลาด (Market Capitalization Weighted Index) 2. ดัชนีชนิดถ่วงน้ำหนักด้วยราคาตลาด (Price Weighted Index) 3. ดัชนีชนิดไม่ถ่วงน้ำหนัก (Equally Weighted Index) 4. ดัชนีชนิดปรับราคาตลาด (Market Customized Index) | 1 | true | true | true | ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ได้รับการคำนวณแบบถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization Weighted Index) โดย SET Index ได้รับการคำนวณโดยใช้หุ้นสามัญทะเบียนทุกตัวในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (รวมหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์) |
example | 32 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ไม่ใช่การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดแรก (Primary Market) | 1. การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง (Public Offering: PO) 2. การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ลงทุนในวงจำกัด (Private Placement: PP) 3. การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ต่อผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Rights Offering: RO) 4. การส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นผ่านบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ | 4 | true | true | true | ตัวเลือกที่ 1, 2 และ 3 เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการระดมทุน ข้อ 4 เป็นการทำรายการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดรอง (Secondary Market |
example | 33 | บริษัทแห่งหนึ่งมีส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 745.20 ล้านบาท โดยบริษัทมีจํานวนหุ้นที่ชําระแล้วทั้งสิ้น 22 ล้านหุ้น มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Book Value per Share) ของบริษัทดังกล่าว จะเท่ากับเท่าใด | 1. 33.87 บาท 2. 44.25 บาท 3. 55.24 บาท 4. 62.23 บาท | 1 | true | true | true | มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น = ส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว = 745.20 ล้านบาท / 22 ล้านหุ้น = 33.87 บาทต่อหุ้น |
example | 34 | ปัจจัยใดต่อไปนี้เมื่อเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้มูลค่าของหุ้นสามัญลดลง หากกําหนดให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่ | 1. กระแสเงินสดที่ได้รับจากการลงทุนในหุ้น 2. อัตราคิดลด 3. ความสามารถในการทํากําไรของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ 4. แนวโน้มอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ | 2 | true | true | true | กำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆที่มีผลกระทบต่อมูลค่าหุ้นคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อประมาณการ กระแสเงินสดที่ผู้ลงทุนจะได้จากการลงทุนในหุ้น ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทผู้ ออกหลักทรัพย์ และแนวโน้มอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ เพิ่มขึ้น มูลค่าของหุ้นสามัญจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าอัตราคิดลดเพิ่มขึ้น มูลค่าของหุ้น สามัญจะลดลง |
example | 35 | สิทธิประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับจากการลงทุนในหุ้นสามัญในตัวเลือกใดไปนี้จะทําให้สัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมลดลง (Dilution effect) ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่ใช้สิทธิที่ตนได้รับ | 1. หุ้นปันผล (Stock Dividend) 2. การแตกหุ้น (Share Split) 3. การรวมหุ้น (Share Consolidation) 4. การให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมในการจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Issue) | 4 | true | true | true | ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่ได้ใช้สิทธิในการจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมลดลง (Dilution Effect) ภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนเสร็จสิ้น ส่วนการแตกหุ้น การรวมหุ้นและการให้หุ้นปันผลไม่ได้มีผลกระทบต่อสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมแต่อย่างใด |
example | 36 | บริษัทแห่งหนึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์จากการประเมินตามราคาตลาด 120 ล้านบาท มีส่วนของผู้ถือหุ้น 100 ล้านบาท และมีหนี้สินรวม 10 ล้านบาท บริษัทดังกล่าวมีจํานวนหุ้นที่ชําระแล้วทั้งสิ้น 5 ล้านหุ้น ดังนั้น มูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหุ้นของบริษัทดังกล่าวเท่ากับเท่าใด | 1. 14 บาท 2. 18 บาท 3. 22 บาท 4. 26 บาท | 3 | true | true | true | มููลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหุ้น = (120-10)/5 = 22 บาทต่อหุ้น |
example | 37 | บริษัท ธนารักษ์ จำกัด จ่ายเงินปันผลครั้งล่าสุดในปีที่ผ่านมาเท่ากับ 2 บาทต่อหุ้น โดยนักวิเคราะห์คาดว่าเงินปันผลจ่ายของบริษัทดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปีตลอดไป อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการจากการลงทุนในหุ้นดังกล่าวเท่ากับ 8% ถ้าราคาตลาดของหุ้นของบริษัท ธนารักษ์ ในปัจจุบันเท่ากับ 12 บาท ส่วนต่างระหว่างมูลค่าที่แท้จริงและราคาตลาดของหุ้นของบริษัท ธนารักษ์ จำกัด เท่ากับเท่าใด | 1. 13.75 บาท 2. 25.75 บาท 3. 29.20 บาท 4. 41.20 บาท | 3 | true | true | true | มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นของบริษัท ธนารักษ์ จำกัด = (2x1.03)(0.08-0.03) = 41.20 บาท ดังนั้น ส่วนต่างระหว่างมูลค่าที่แท้จริงและราคาตลาดของหุ้นบริษัท ธนารักษ์ = 41.20 - 12.00 = 29.20 บาท |
example | 38 | บริษัท ชลวิทย์ จำกัด (มหาชน) ประมาณการกำไรสุทธิในปี พ.ศ.25x8 เท่ากับ 420 ล้านบาท ณ สิ้นปี 25x7 บริษัทดังกล่าวมีทุนชำระแล้วทั้งสิ้น 210 ล้านบาท โดยมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นสามัญของบริษัทเท่ากับ 2 บาทต่อหุ้น P/E ratioของบริษัทที่มีลักษณะการดำเนินงานคล้ายคลึงกัน (Comparable Firm) เท่ากับ 6.5 เท่า ถ้าราคาตลาดของหุ้นสามัญของบริษัท ชลวิทย์ เท่ากับ 23 บาท ท่านควรจะซื้อหุ้นของบริษัทดังกล่าวหรือไม่ เพราะเหตุใด | 1. ควรซื้อ เพราะมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสูงกว่าราคาตลาดอยู่ 3 บาท 2. ควรซื้อ เพราะมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสูงกว่าราคาตลาดอยู่ 4 บาท 3. ไม่ควรซื้อ เพราะมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นต่ำกว่าราคาตลาดอยู่ 3 บาท 4. ไม่ควรซื้อ เพราะมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นต่ำกว่าราคาตลาดอยู่ 4 บาท | 1 | true | true | true | บริษัท ชลวิทย์ มีจำนวนหุ้นที่ชำระแล้วทั้งสิ้น 105 ล้านหุ้น (210 ล้านบาท/2 บาท) ดังนั้น กำไรสุทธิต่อหุ้นเท่ากับ 4 บาท (420 ล้านบาท/105 ล้านหุ้น) มูลค่าของหุ้นตามวิธี P/E ratio = 4x6.5 = 26 บาท จะเห็นว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (26 บาท) ยังสูงกว่าราคาตลาดของหุ้น (23 บาท) อยู่ 3 บาท ดังนั้นผู้ลงทุนจึงควรซื้อหุ้นของบริษัท ชลวิทย์ จำกัด (มหาชน) |
example | 39 | เมื่อบริษัทจดทะเบียนแห่งหนึ่งมีข่าวสารหรือสารสนเทศที่ต้องชี้แจงหรือรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่บริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่จัดส่งข้อมูลหรือข่าวสารต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างรอคำชี้แจงหรือรายงานเพิ่มเติมจากบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะขึ้นเครื่องหมายใดดังต่อไปนี้กับหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว | 1. NR 2. NP 3. NC 4. XA | 2 | true | true | true | NP (Notice Pending) เป็นเครื่องหมายที่แสดงให้ผู้ลงทุนทราบว่าบริษัทจดทะเบียนมีข่าวสารหรือสารสนเทศต้องชี้แจงหรือรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยตลาดหลักทรัพย์ฯจะขึ้นเครื่องหมายดังกล่าวเมื่อบริษัทจดทะเบียนไม่จัดส่งงบการเงินหรือรายงานให้ตลาดหลักทรัพย์ฯภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือตลาดหลักทรัพย์ฯอยู่ระหว่างการรอคำชี้แจงหรือรายงานเพิ่มเติมจากบริษัทจดทะเบียนหรือข่าวสารที่ได้รับจากบริษัทจดทะเบียนยังไม่ครบถ้วนหรือชัดเจนเพียงพอ |
example | 40 | ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะปิดซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราว (Circuit Breaker) เมื่อใด | 1. เมื่อ SET Index เพิ่มขึ้น 5% ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้า 2. เมื่อ SET Index เพิ่มขึ้น 10% ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้า 3. เมื่อ SET Index ลดลง 5% ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้า 4. เมื่อ SET Index ลดลง 10% ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้า | 4 | true | true | true | ตลาดหลักทรัพย์ฯจะใช้ Circuit Breaker ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. ครั้งที่ 1 เมื่อ SET Index ลดลงถึง 10% ของดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้า โดยตลาดหลักทรัพย์ฯจะพักการซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราวเป็นเวลา 30 นาที และ 2. ครั้งที่ 2 เมื่อ SET Index ลดลงถึง 20% ของดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้า โดยตลาดหลักทรัพย์ฯจะพักการซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราวเป็นเวลา 1 ชั่วโมง และหลังจากการทำงานครั้งที่สองของ Circuit Breaker ตลาดหลักทรัพย์ฯจะเปิดให้ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ต่อไปจนถึงเวลาปิดทำการตามปกติ โดยไม่มีการหยุดการซื้อขายอีก |
example | 41 | ในกรณีที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายหลักทรัพย์ต้องการซื้อหรือขายหลักทรัพย์เป็นจำนวนมากๆแต่ไม่ต้องการให้แสดงปริมาณการซื้อขายที้เดียวทั้งหมด เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ เจ้าหน้าที่การตลาดหลักทรัพย์ควรใช้คำสั่งซื้อขายหุ้นแบบใด | 1. Iceberg 2. Fill-or-Kill Order 3. Special Market Order 4. Market to Limit Order | 1 | true | true | true | Iceberg เป็นคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์แบบพิเศษที่ช่วยให้ผู้ซื้อหรือผู้ขายที่ต้องการซื้อหรือขายหลักทรัพย์จำนวนมากแต่ไม่ต้องการให้แสดงปริมาณการซื้อขายทีเดียวทั้งหมด เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ ดังนั้น จึงต้องทยอยซื้อขายหลักทรัพย์โดยแบ่งเป็นคำสั่งย่อยๆ สูงสุดไม่เกิน 100 คำสั่งย่อย โดยภายใต้คำสั่งแบบ Iceberg นี้ ผู้ลงทุนสามารถส่งคำสั่งเพียงครั้งเดียวได้ จากนั้นระบบการซื้อขายจะทำการเสนอซื้อหรือเสนอขายเป็นหลายรายการโดยอัตโนมัติ |
example | 42 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้กล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาดตราสารหนี้ | 1. ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ทำหน้าที่ดูแลไม่ให้ผู้ออกหุ้นกู้กระทำการใดๆ ที่ทำให้ทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ของหุ้นกู้ลดต่ำลงกว่าข้อกำหนดที่ระบุไว้ในการออกหุ้นกู้ และดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายให้ผู้ถือหุ้นกู้ เมื่อผู้ออกหุ้นกู้ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการออกหุ้นกู้ 2. นายทะเบียนหุ้นกู้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางให้บริการรับฝากและถอนหลักทรัพย์ โอนหลักทรัพย์จำนำและเบิกถอนจำนำหลักทรัพย์ รวมถึงดูแลงานด้านการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ 3. สถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือทำหน้าที่วิเคราะห์และประเมินความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้และผู้ออกตราสารหนี้ 4. ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ทำหน้าที่รับจัดจำหน่ายตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุน | 2 | true | true | true | นายทะเบียนหุ้นกู้เป็นหน่วยงานที่ให้บริการแก่ผู้ออกหลักทรัพย์และผู้ถือหลักทรัพย์ในเรื่องการจัดทำและบันทึกทะเบียนหลักทรัพย์ให้ถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน |
example | 43 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้จัดเป็นการลงทุนทางอ้อมผ่านตลาดตราสารหนี้ | 1. การซื้อขายตราสารหนี้ผ่านตลาดตราสารหนี้ (BEX) 2. การซื้อขายตราสารหนี้ผ่านผู้ค้าตราสารหนี้ (Dealer) ในตลาด OTC 3. การซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารหนี้ 4. การซื้อหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) | 3 | true | true | true | การลงทุนทางอ้อมในตราสารหนี้เป็นการลงทุนผ่านกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตรา สารหนี้เป็นหลัก หรือกองทุนรวมผสมที่มีการลงทุนในตราสารหนี้ ตัวเลือกที่ 1 และ 2 เป็นการลงทุนผ่านตลาดรองของตราสารหนี้ ส่วนตัวเลือกที่ 4 เป็นการ ลงทุนในตลาดแรกของตราสารหนี้ |
example | 44 | นายสมชัยซื้งเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยได้ลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัท ทรัพย์เจริญ จำกัด (มหาชน) และได้ดอกเบี้ยจากหุ้นกู้ดังกล่าวจำนวน 200,000 บาท นายสมชัยจะมีภาระภาษีสำหรับดอกเบี้ยรับดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร | 1. มีภาระภาษี โดยนายสมชัยจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% 2. มีภาระภาษี โดยนายสมชัยจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% 3. มีภาระภาษี โดยนายสมชัยจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 20% 4. ไม่มีภาระภาษี | 2 | true | true | true | สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ ในกรณีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยได้รับดอกเบี้ยจากการลงทุนในตราสารหนี้ ผู้ลงทุนดังกล่าวจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% และมีสิทธิเลือกที่จะไม่นำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ตอนสิ้นปี |
example | 45 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้สรุปได้ถูกต้อง เมื่ออัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง | 1. Interest Rate Risk และ Reinvestment Rate Risk เพิ่มขึ้น 2. Interest Rate Risk และ Reinvestment Rate Risk ลดลง 3. Interest Rate Risk เพิ่มขึ้น แต่ Reinvestment Rate Risk ลดลง 4. Interest Rate Risk ลดลง แต่ Reinvestment Rate Risk เพิ่มขึ้น | 4 | true | true | true | เมื่ออัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง แรงกดต่อราคาของตราสารหนี้จะลดลง ทำให้ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) ลดลง แต่ขณะเดียวกันผู้ลงทุนต้องนำกระแสเงินสดที่ได้จากการลงทุนไปลงทุนต่อด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงเช่นกัน ดังนั้น ความเสี่ยงจากการลงทุนต่อ (Reinvestment Rate Risk) จะเพิ่มขึ้น |
example | 46 | เมื่ออัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง การลงทุนในตราสารหนี้ประเภทใดต่อไปนี้จะมีความเสี่ยงจากการถูกไถ่ถอนคืนก่อนกำหนดมากที่สุด | 1. Puttable Bond 2. Callable Bond 3. Straight Bond 4. Convertible Bond | 2 | true | true | true | เมื่ออัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงจะถูกไถ่ถอนคืน ก่อนกำหนด มากที่สุด คือ Callable Bond ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อบริษัทผู้ออกตราสารหนี้อาศัยช่วงที่ดอกเบี้ย อยู่ในช่วงขาลง ออกหุ้นกู้ชุดใหม่ที่มีอัตราตอกเบี้ยต่ำกว่า Callable Bond และนำเงินที่ได้ จากการออกหุ้นกู้ชุดใหม่ไปไถ่ถอนคืน Callable Bond ทำให้ผู้ลงทุนต้องนำเงินที่ได้รับคืน จากการไถ่ถอนคืนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนดไปลงทุนต่อในช่วงที่ดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง |
example | 47 | โครงสร้างเงินทุนของบริษัทแห่งหนึ่งประกอบด้วยหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ และหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ในกรณีที่มีการขายทรัพย์สินของกิจการและนำเงินมาใช้คืนให้แก่เจ้าของเงินทุนของกิจการ ให้เรียงลำดับบุคคลที่จะได้รับเงินคืนจากลำดับแรกไปถึงลำดับสุดท้าย | 1. ผู้ถือหุ้นสามัญ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ เจ้าหนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธิ และเจ้าหนี้หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ 2. เจ้าหนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธิ เจ้าหนี้หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ และผู้ถือหุ้นสามัญ 3. เจ้าหนี้หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ เจ้าหนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธิ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ และผู้ถือหุ้นสามัญ 4. เจ้าหนี้หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ เจ้าหนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธิ ผู้ถือหุ้นสามัญ และผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ | 3 | true | true | true | ในกรณีที่มีการขายทรัพย์สินของกิจการ เจ้าของเงินทุนของกิจการที่จะได้รับเงินคืนมีลำดับดังนี้ 1) เจ้าหนี้หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ์ 2) เจ้าหนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ 3) ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์ และ 4) ผู้ถือหุ้นสามัญ ตามลำดับ |
example | 48 | ตัวเลือกใดกล่าวถึงเส้นอัตราผลตอบแทนแบบปกติ (Normal Yield Curve) ได้ถูกต้อง | 1. อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยระยะยาว 2. อัตราดอกเบี้ยจะเท่ากันทั้งหมดในทุกช่วงอายุของตราสารหนี้ 3. อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยระยะยาว 4. ในช่วงแรก เมื่ออายุของตราสารหนี้เพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น จนถึงจุดหนึ่งเมื่ออายุของตราสารหนี้เพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยจะลดลง | 3 | true | true | true | สำหรับ Normal Yield Curve อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวจะสูงกว่าอัตรา ผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้น ทำให้ Yield Curve มีลักษณะโค้งขึ้นจากล่างซ้ายไป บนขวา |
example | 49 | สำหรับการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาด BEX เครื่องหมาย XI มีความหมายว่าอย่างไร | 1. ผู้ซื้อตราสารหนี้จะไม่มีสิทธิได้รับเงินต้นที่บริษัทกำหนดจ่ายในงวดนั้น 2. ผู้ซื้อตราสารหนี้จะไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยที่บริษัทกำหนดจ่ายในงวดนั้น 3. ผู้ซื้อตราสารหนี้จะมีสิทธิได้รับทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยที่บริษัทกำหนดจ่ายในงวดนั้น 4. ผู้ซื้อตราสารหนี้จะไม่มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งของกำไรที่บริษัทจ่ายในงวดนั้น | 2 | true | true | true | XI (Ex-Interest) เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าผู้ซื้อตราสารหนี้จะไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยที่บริษัทกำหนดจ่ายในงวดนั้น |
example | 50 | ประเภทเงินปัน (Dividend) ที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญในรูปแบบของหุ้นของบริษัทนั้นๆ เรียกว่าอะไร | 1. เงินปันสด 2. เงินปันหุ้น 3. เงินปันพิเศษ 4. เงินปันซื้อกลับ | 3 | true | true | true | หน่วยงานที่ดูแลงานทางด้านการชำระราคาและการส่งมอบหลักทรัพย์ในตลาด BEX คือบริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด |
p2 | 1 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน | 1. มีการจ่ายกระแสเงินสดไม่แน่นอน ผู้ถือตราสารมีสิทธิเลื่อนงดรับดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดของตราสาร 2. มีการกำหนดอายุของตราสารที่ชัดเจน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 5-10 ปี 3. มีลำดับสิทธิในการรับชำระหนี้คืนด้อยกว่าเจ้าหนี้ผู้ถือตราสารหนี้ที่มีลักษณะเป็นตราสารหนี้แท้ 4. Callable Bond ที่มีการกำหนดให้สิทธิแก่ผู้ออกตราสารหนี้ไถ่ถอนตราสารหนี้ได้ก่อนกำหนดถือว่าเป็นตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน | 3 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน เป็นตราสารหนี้ที่มีการจ่ายกระแสเงินสดไม่แน่นอนแต่ให้สิทธิผู้ออกตราสาร (ไม่ใช่ให้สิทธิผู้ถือตราสาร) ในการเลื่อนหรืองดจ่ายการชำระหนี้ หรือดอกเบี้ยตามที่ได้ระบุไว้ ตัวเลือก 2 ผิด ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน จะมีอายุของตราสารไม่ชัดเจนแน่นอน บางกรณีไม่กำหนดอายุตราสาร ตัวเลือก 3 ถูก ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน เป็นตราสารหนี้ที่มีลำดับสิทธิในการรับชำระหนี้ด้อยกว่าเจ้าหนี้ผู้ถือตราสารหนี้ที่มีลักษณะตราสารหนี้แท้ ตัวเลือก 4 ผิด Callable Bond ไม่ถือว่าเป็นตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน แต่ถือว่าเป็นตราสารหนี้ปกติ |
p2 | 2 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับตราสารหนี้ที่ความซับซ้อนเกิดจากการมีลักษณะคล้ายตราสารทุน (Hybrid Securities) | 1. มีการจ่ายผลตอบแทนที่อยู่ในรูปแบบทั้งดอกเบี้ยจ่ายและเงินปันผล 2. มีการกำหนดอายุของตราสารที่ชัดเจน 3. มีลำดับสิทธิในการรับชำระหนี้คืน 4. มีอัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่าตราสารหนี้ปกติที่มีอายุเท่ากันและอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกัน | 3 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด ตราสารหนี้ที่มีความซับซ้อนเกิดจากการมีลักษณะคล้ายตราสารทุน จะมีการจ่ายดอกเบี้ยคล้ายกับตราสารหนี้ปกติ และจะไม่มีการจ่ายเงินปันผล ตัวเลือก 2 ผิด ตราสารหนี้ที่มีความซับซ้อนเกิดจากการมีลักษณะคล้ายตราสารทุน อาจมีอายุของตราสารไม่ชัดเจนและมักจะยาวกว่าตราสารหนี้ปกติ ในบางกรณีไม่กำหนดอายุตราสารหรือจะไถ่ถอนเมื่อเลิกกิจการ ตัวเลือก 3 ถูก เพราะตราสารหนี้ที่มีความซับซ้อนเกิดจากการมีลักษณะคล้ายตราสารทุน เป็นตราสารหนี้ที่มีลำดับสิทธิในการรับชำระหนี้คืนด้อยกว่าเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์และเจ้าหนี้สามัญ ตัวเลือก 4 ผิด ตราสารหนี้ที่มีความซับซ้อนเกิดจากการมีลักษณะคล้ายตราสารทุน มีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับตราสารหนี้ปกติที่มีอายุเท่ากันและอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกัน เพื่อชดเชยความเสี่ยงของตราสารที่สูงกว่าตราสารหนี้ทั่วไป เช่น ความเสี่ยงที่มีลำดับสิทธิในการรับชำระหนี้คืนด้อยกว่าเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์และเจ้าหนี้สามัญ |
p2 | 3 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับตราสารหนี้ที่ผู้ออกตราสารมีสิทธิเลื่อนการจ่ายดอกเบี้ย | 1. สิทธิในการเลื่อนจ่ายดอกเบี้ย 2. ภายหลังการตัดสินใจเลื่อนชำระดอกเบี้ย 3. ตราสารหนี้ประเภทนี้มักมีข้อกำหนดเพิ่มเติม 4. ตราสารหนี้ประเภทนี้มีอัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่าตราสารหนี้ปกติที่มีอายุเท่ากันและอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกัน | 3 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด สิทธิในการเลื่อนการจ่ายดอกเบี้ย เป็นสิทธิที่ของบริษัทผู้ออกตราสารเพียงผู้เดียว ตัวเลือก 2 ผิด ภายหลังการตัดสินใจเลื่อนชำระดอกเบี้ย หากผู้ออกตราสารหนี้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการเลื่อนการจ่ายดอกเบี้ยจนครบถ้วนและถูกต้อง จะไม่ถือว่าเป็นผิดนัดชำระหนี้ตามข้อกำหนดสิทธิการออกหุ้นกู้ ตัวเลือก 3 ถูก ตราสารหนี้ประเภทนี้มักมีข้อกำหนดเพิ่มเติม หากบริษัทประกาศเลื่อนการจ่ายดอกเบี้ยแล้ว ห้ามจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น เป็นข้อกำหนดสำหรับการคุ้มครองผู้ลงทุนในตราสารประเภทนี้ ตัวเลือก 4 ผิด ตราสารหนี้ที่ผู้ออกตราสารมีสิทธิเลื่อนการจ่ายดอกเบี้ยมีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับตราสารหนี้ปกติที่มีอายุเท่ากันและอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกัน เพื่อชดเชยความเสี่ยงเลื่อนการจ่ายดอกเบี้ย |
p2 | 4 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับ ตราสาร BaselII | 1. ผู้ออกตราสาร สามารถเป็นได้ทั้งบริษัททั่วไปและสถาบันการเงิน 2. เป็นตราสารหนี้ ไม่ด้อยสิทธิเพื่อผู้ออกตราสาร ใช้นับเป็นเงินกองทุน ตามเกณฑ์ Basel 3. มีข้อกำหนดที่จะแปลงเป็นหุ้นสามัญ หรือตัดหนี้สูญเมื่อเกิดเหตุการณ์ trigger events 4. มีสภาพคล่องสำหรับการซื้อขายเปลี่ยนมือ อยู่ระดับสูงกว่าตราสารหนี้ทั่วไป | 3 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด ธนาคารพาณิชย์เท่านั้น เป็นผู้ออกตราสารตามเกณฑ์ Basel ตัวเลือก 2 ผิด ตราสารหนี้ประเภทนี้ คือตราสารหนี้ด้อยสิทธิ (ไม่ใช่ตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิ) เพื่อผู้ออกตราสารใช้นับเป็นเงินกองทุนตามเกณฑ์ Basel ตัวเลือก 3 ถูก ตราสารหนี้ประเภทนี้ คณะกรรมการ Basel มีแนวคิดให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินทุนที่มีคุณภาพและมีความเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงในภาวะวิกฤตได้มากขึ้น ดังนั้นผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ถูกนับรวมในส่วนของเงินกองทุนต้องเข้ามารับความเสี่ยงร่วมกับผู้ถือหุ้นของธนาคารให้มากกว่าเดิม จึงมีข้อกำหนดที่จะแปลงเป็นหุ้นสามัญหรือตัดหนี้สูญเมื่อเกิดเหตุการณ์ trigger events ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนระหว่างการตัดสินใจให้ตัดตราสารดังกล่าวเป็นหนี้สูญและการตัดสินใจให้ความช่วยเหลือโดยภาครัฐ ตัวเลือก 4 ผิด ตราสารหนี้ประเภทนี้ มีสภาพคล่องต่ำกว่าตราสารหนี้ทั่วไป เนื่องจากธนาคารพาณิชย์จะออกตราสารประเภทนี้ปริมาณจำกัดแต่ให้เพียงพอให้นับเป็นเงินกองทุนตามเกณฑ์ ในขณะที่ตราสารมีความเสี่ยงด้อยข้างสูงที่จะสูญเงินทันที ผู้ลงทุนจึงจำกัดในวงจำกัด สภาพคล่องในการซื้อขายตลาดรองจึงต่ำมาก |
p2 | 5 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับ ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (Perpetual bond) | 1. ผู้ออกตราสาร เป็นธนาคารพาณิชย์เท่านั้น 2. เป็นตราสารหนี้ที่ไม่กำหนดเวลาไถ่ถอนไว้ชัดเจน โดยผู้ออกตราสารจะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวเมื่อเลิกกิจการ 3. โดยทั่วไปมักมีข้อกำหนดที่ให้สิทธิผู้ออกตราสารหนี้ในการไถ่ถอนคืนก่อนกำหนด เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน 4. มีสภาพคล่องสำหรับการซื้อขายเปลี่ยนมือ อยู่ระดับสูงกว่าตราสารหนี้ทั่วไป | 3 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด ผู้ออก Perpetual bond สามารถเป็นได้ทั้งบริษัททั่วไปและสถาบันการเงิน ตัวเลือก 2 ผิด Perpetual bond คือตราสารหนี้ที่ไม่กำหนดเวลาไถ่ถอนไว้ชัดเจนและแน่นอน ผู้ออกตราสารจะชำระเงินต้นเพียงครั้งเดียวเมื่อเลิกกิจการ แต่ในส่วนของดอกเบี้ยจ่ายตามกำหนดในสัญญา (ไม่ใช่จ่ายดอกเบี้ยครั้งเดียวเมื่อเลิกกิจการ) ตัวเลือก 3 ถูก ตราสารหนี้ประเภทนี้มักมีข้อกำหนดที่ให้สิทธิผู้ออกตราสารในการไถ่ถอนคืนก่อนกำหนดเมื่อไม่พันกิดระยะเวลาตามที่ระบุในหนังสือชี้ชวน ตัวเลือก 4 ผิด ตราสารหนี้ประเภทนี้มีสภาพคล่องต่ำกว่าตราสารหนี้ทั่วไป เนื่องจากตราสารมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ไม่มีอายุชัดเจนแน่นอน สภาพคล่องในการซื้อขายตลาดรองจึงต่ำมาก |
p2 | 6 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับ ตราสารหนี้ที่ความซับซ้อนเกิดจากการมีอนุพันธ์แฝง (หุ้นกู้อนุพันธ์) | 1. ตราสารหนี้ Convertible Bond ที่กำหนดให้สิทธิแก่ ผู้ถือตราสารหนี้ในการแปลงสภาพ ตราสารหนี้เป็นหุ้นสามัญ ของบริษัทผู้ ออกตราสารหนี้ ถือว่าเป็นประเภทหนึ่งของตราสารหนี้ที่ความซับซ้อนเกิดจาก การมีอนุพันธ์แฝง 2. ตราสารหนี้ Puttable Bond ที่กำหนดให้สิทธิแก่ผู้ถือตราสารหนี้มีสิทธิเรียกให้ผู้ออกตราสารชำระหนี้คืนก่อนกําหนด ถือว่าเป็นประเภทหนึ่งของตราสารหนี้ที่ความซับซ้อนเกิด จากการมีอนุพันธ์แฝง 3. ตราสารหนี้ประเภทนี้มีเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนส่วนเพิ่มโดยจะแปรผันตามราคาของตัวแปรอ้างอิง 4. ตราสารหนี้ประเภท นี้จะต้องจัดโครงสร้างที่ คุ้มครองเงินต้น ทั้งจำนวนเท่านั้น เพื่อลด ความเสี่ยงของผู้ถือตราสาร | 3 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด ตราสารหนี้ที่กำหนดให้สิทธิแก่ผู้ถือตราสารหนี้ในการแปลงสภาพตราสารหนี้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ (Convertible Bond) ไม่ถือว่าเป็นตราสารหนี้ซับซ้อนเกิดจากการมีอนุพันธ์แฝง แต่ถือว่าเป็นตราสารหนี้ปกติทั่วไป ตัวเลือก 2 ผิด ตราสารหนี้ที่กำหนดให้สิทธิแก่ผู้ถือตราสารหนี้มีสิทธิเรียกให้ผู้ออกตราสารชำระหนี้คืนก่อนกำหนด (Puttable Bond) ไม่ถือว่าเป็นตราสารหนี้ซับซ้อนเกิดจากการมีอนุพันธ์แฝง แต่ถือเป็นตราสารหนี้ปกติทั่วไป ตัวเลือก 3 ถูก ตราสารหนี้ประเภทนี้มีเงื่อนไขการให้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มโดยจะแปรผันตามราคาของตัวแปรอ้างอิง ตัวเลือก 4 ผิด ตราสารหนี้ประเภทนี้มีการจัดโครงสร้างได้หลายลักษณะ เช่น คุ้มครองเงินต้นทั้งหมด หรือบางส่วน |
p2 | 7 | หุ้นกู้อนุพันธ์ที่จ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับหุ้นสามัญ (Equity linked notes: ELN) มูลค่า 10,000 บาท อายุ 3 เดือน มีเงื่อนไขดังนี้ - หากราคาหุ้นวัน สุดท้ายสูงกว่า 100 บาท ผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับเงินต้น พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 1.2% ต่อไตรมาส (3 เดือน)- หากราคาหุ้นวันสุดท้ายต่ำ กว่าหรือเท่ากับ 100 บาท ผู้ถือหุ้นกู้จะได้หุ้นจำนวน 100 หุ้นราคาหุ้นละ 100 บาทตัวเลือกใดแสดงจําน วนเงินหรือหุ้นที่จะได้รับเมื่อหุ้นกู้อนุพันธ์ครบกำหนดอายุสัญญาได้ถูกต้อง | 1. หากราคาหุ้นสามัญเท่ากับ 98 บาท จะได้รับเงินสดคืน 10,120 บาท 2. หากราคาหุ้นสามัญ เท่ากับ 98 บาท จะได้หุ้น โดยจ่ายเงินชำระค่าหุ้นเท่ากับ 10,000 บาท 3. หากราคาหุ้นสามัญ เท่ากับ 105 บาท จะได้รับเงินสดคืน 10,500 บาท 4. หากราคาหุ้นสามัญ เท่ากับ 105 บาท จะได้หุ้น โดยจ่ายเงินชำระค่าหุ้นเท่ากับ 10,500 บาท | 2 | true | true | true | หากราคาหุ้นเท่ากับ 98 บาท (ต่ำกว่า 100 บาท) ผู้ถือพันธบัตรจะได้หุ้นจำนวน 100 หุ้นที่ราคาหุ้นละ 100 บาท ดังนั้นจะชำระเงินค่าหุ้นเท่ากับ 10,000 บาท |
p2 | 8 | หุ้นกู้อนุพันธ์ที่จ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับดอกเบี้ยในตลาดเงิน (interest rate linked notes) มูลค่า 1,000 บาทอายุ 1 ปี จ่ายผลตอบแทนปีละครั้ง โดย มีเงื่อนไขชำระหนี้เมื่อครบกำหนดอายุสัญญา ดังนี้ จำนวนเงินที่ได้รับชำระคืน = มูลค่าที่ตราไว้ + {มูลค่าที่ตราไว้ × [max(1%, (10% - MLR เฉลี่ย]} | 1. หาก MLR เฉลี่ย เท่ากับ 5% จะได้รับเงินสดคืน 1,060 บาท 2. หาก MLR เฉลี่ย เท่ากับ 6% จะได้รับเงินสดคืน 1,060 บาท 3. หาก MLR เฉลี่ย เท่ากับ 11% จะได้รับเงินสดคืน 1,110 บาท 4. หาก MLR เฉลี่ย เท่ากับ 12% จะได้รับเงินสดคืน 1,010 บาท | 4 | true | true | true | จำนวนเงินที่ได้รับ =มูลค่าที่ตราไว้ + (มูลตำที่ตราไว้ x [ max(1%, (10% - MLRเฉลี่ย) ] หาก MLR เฉลี่ย เท่ากับ 12% จำนวนเงินที่ได้รับ = 1,000 + (1,000 x ( max(1%, (10% - 12%) )) = 1,000 + (1,000 x ( max(1%,(-2%)) = 1,000+(1,000 x(1%)) = 1,010 บาท |
p2 | 9 | หุ้นกู้อนุพันธ์ที่จ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign exchange rate-linked notes) มูลค่า 1,000 บาท อายุ 1 ปี เสนอขายที่อัตราคิดลด 97% ของมูลค่าที่ตราไว้โดยจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ โดยราคาใช้สิทธิที่ THB/USD เท่ากับ 40 บาท และมีเงื่อนไขชำระหนี้ เมื่อครบกำหนดอายุสัญญา ดังนี้ (กรณี ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่ามากกว่าราคาใช้สิทธิ ผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับ เงินคืน 1,000 บาท) (กรณีค่าเงิน ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าต่ำ กว่าหรือเท่ากับราคาใช้สิทธิ ผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเป็นจำนวน เท่ากับมูลค่าที่ ตราไว้/ราคาใช้สิทธิ = 1,000/40 = 25 ดอลลาร์สหรัฐ) ตัวเลือกใดแสดงจํานวนเงินที่จะได้รับคืน เมื่อหุ้นกู้อนุพันธ์ครบกำหนดอายุสัญญาได้ถูกต้อง | 1. หากอัตราแลกเปลี่ยน THB/USD เท่ากับ 38 บาท จะได้รับเงินคืน 26.31 ดอลลาร์สหรัฐ 2. หากอัตราแลกเปลี่ยน THB/USD เท่ากับ 39 บาท จะได้รับเงินคืน 1,000 บาท 3. หากอัตราแลกเปลี่ยน THB/USD เท่ากับ 42 บาท จะได้รับ เงินคืน 1,000 บาท 4. หากอัตราแลกเปลี่ยน THB/USD เท่ากับ 45 บาท จะได้รับเงินคืน 22.22 ดอลลาร์สหรัฐ | 3 | true | true | true | อัตราแลกเปลี่ยน THB/USD เท่ากับ 42 บาท แสดงว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่ามากกว่าราคาใช้สิทธิ ดังนั้นผู้ถือหุ้นก็จะได้รับเงินคืน 1,000 บาท |
p2 | 10 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับ ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง [I ตราสารหนี้ที่ได้รับ จัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้] [II ตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับ จัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated bond)] [III ตราสารหนี้ที่อันดับความน่าเชื่อถือ ที่ต่ำกว่า B-] [IV ตราสารหนี้ที่อันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า BBB-] | 1. I และ III 2. I และ IV 3. II และ III 4. II และ IV | 4 | true | true | true | I ผิด ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง หมายถึง ตราสารหนี้ที่ได้รับจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ II ถูก ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง หมายถึง ตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated bond) III ผิด ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง หมายถึง ตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่ต่ำกว่า BBB- เป็นต้นไป ไม่ใช่ B- IV ถูก |
p2 | 11 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับ กองทุนรวมที่ มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน | 1. มีนโยบายลงทุน ในตราสารหนี้ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ และหรือไม่มีอันดับความน่าเชื่อถือเกินกว่า 50% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน 2. มีการจ่ายผลตอบแทน โดยวิธีการคำนวณ ผลตอบแทนจะผันแปรไปตามสูตรคำนวณหรือเงื่อนไขใดๆ ที่ไม่สามารถเข้าใจได้โดยง่าย 3. มีนโยบายการลงทุนที่จำกัดอัตราส่วนการลงทุน เพื่อป้องกันการกระจุกตัวของการลงทุน 4. มีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงของทรัพย์สินที่กองทุนลงทุน | 2 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด กองทุนรวมประเภทนี้สามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ และหรือไม่มีอันดับความน่าเชื่อถือเกินกว่า 60% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ตัวเลือก 2 ถูก ผลตอบแทนกองทุนรวมประเภทนี้จะผันแปรไปตามสูตรการคำนวณหรือเงื่อนไขใด ๆ ที่ผู้ลงทุนไม่สามารถทำความเข้าใจได้โดยง่าย ตัวเลือก 3 ผิด กองทุนรวมประเภทนี้จะไม่จำกัดอัตราส่วนการลงทุน ทำให้สามารถลงทุนแบบกระจุกตัวได้ ตัวเลือก 4 ผิด กองทุนรวมประเภทนี้จะมีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับกองทุน ทำให้มีความเสี่ยงจากสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสูง |
p2 | 12 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำหรือไม่มีอันดับความน่าเชื่อถือ | 1. สามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำหรือไม่มีอันดับความน่าเชื่อถือได้ไม่เกิน 60% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน 2. สามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Junk bond ได้ 3. มีผลตอบแทนและลำดับสิทธิได้รับการชำระเงินสูงกว่ากองทุนรวมตราสารทุนทั่วไป 4. มีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ต่ำกว่ากองทุนรวมทั่วไป | 2 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด กองทุนรวมประเภทนี้สามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำหรือไม่มีอันดับความน่าเชื่อถือได้ เกินกว่า 60% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ตัวเลือก 2 ถูก กองทุนรวมประเภทนี้สามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Junk bond ได้ ตัวเลือก 3 ผิด ผลตอบแทนของกองทุนรวมประเภทนี้ต่ำกว่ากองทุนรวมตราสารทุนทั่วไปแต่ลำดับสิทธิในการได้รับชำระเงินของตราสารหนี้ในกองทุนรวมประเภทนี้สูงกว่าตราสารทุน ตัวเลือก 4 ผิด ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของกองทุนรวมประเภทนี้จะสูงกว่ากองทุนรวมทั่วไปเพราะความเสี่ยงส่วนใหญ่เป็นความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ |
p2 | 13 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับ กองทุนรวมที่มีนโยบายในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำ หรือไม่มีอันดับความน่าเชื่อถือ | 1. มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงในรูปเงินปันผลและสิทธิการเพิ่มทุน 2. มีอัตราผลตอบแทนสูง แต่ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ลดลง เมื่อเทียบกับกองทุนรวมทั่วไป เนื่องจากทักษะการคัดเลือกหลักทรัพย์ของผู้จัดการกองทุนที่สูง 3. เหมาะสมกับนักลงทุนรายย่อยที่เคยลงทุนตราสารหนี้มาบ้าง 4. มีอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงหลังจากปรับอัตราเงินเฟ้อ real return ที่เป็นบวก เหมาะกับการลงทุนในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ | 4 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด กองทุนรวมประเภทนี้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงในรูปแบบดอกเบี้ยจ่าย ตัวเลือก 2 ผิด กองทุนรวมประเภทนี้จะมีอัตราผลตอบแทนสูงและความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับกองทุนรวมทั่วไป ตัวเลือก 3 ผิด ผู้ที่เหมาะสมกับการลงทุนในกองทุนประเภทนี้คือกองทุนรวมและนักลงทุนรายใหญ่ที่มีความรู้ความเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงได้ ตัวเลือก 4 ถูก กองทุนรวมประเภทนี้มีอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงปรับตามอัตราเงินเฟ้อ (real return) ที่เป็นบวก เหมาะกับการลงทุนในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ |
p2 | 14 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับ กองทุนรวม Complex Return | 1. กองทุนรวมประเภทนี้จะได้รับผลตอบแทนขึ้นกับเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง 2. กองทุนรวมที่ลงทุนในออปชันประเภท Binary Option จะได้รับผลตอบแทนขึ้นกับส่วนต่างระหว่างราคาใช้สิทธิกับราคาเฉลี่ยของสินทรัพย์อ้างอิงในช่วงเวลาที่กำหนด 3. กองทุนรวมที่ลงทุนในออปชันประเภท Asian Option จะได้รับผลตอบแทนคงที่ในกรณีที่สัญญาออปชันมีมูลค่า และไม่ได้รับผลตอบแทนในกรณีที่สัญญาออปชันไม่มีมูลค่า 4. ถูกทุกตัวเลือก | 1 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ถูก ผลตอบแทนขึ้นกับเงื่อนไขการจ่าย กองทุนรวมประเภทนี้จะมีอัตราผลตอบแทนของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ตัวเลือก 2 ผิด กองทุนรวมที่ลงทุนในออปชั่นประเภท Asian Option จะมีการจ่ายผลตอบแทนขึ้นกับส่วนต่างระหว่างราคาสิทธิกับราคาเฉลี่ยของสินทรัพย์อ้างอิงในช่วงเวลาที่กำหนด แทนราคาเมื่อวันที่ตรงกับกำหนดสัญญา ตัวเลือก 3 ผิด กองทุนรวมที่ลงทุนในออปชั่นประเภท Binary Option จะได้รับผลตอบแทนคงที่ในกรณีที่สัญญาออปชั่นมีมูลค่าในตลาด และไม่ได้รับผลตอบแทนในกรณีที่สัญญาออปชั่นไม่มีมูลค่า |
p2 | 15 | นายสมภพ ซื้อกองทุนรวม EquityComplex Return มูลค่า 100,000บาท อายุ 1 ปี โดยโครงสร้างการลงทุนจะนำ เงินไปลงทุนตราสารหนี้96.5% และที่เหลือ 3.5% ลงทุนในสัญญาคอลออปชัน (Call Option) ของหุ้นสามัญ การจ่ายผลตอบแทน จะอ้างอิงราคาหุ้นสามัญ ABC โดยมีเงื่อนไขแบ่งออกเป็น3 กรณี ดังนี้ (ราคาน้อยกว่า 105 ผลตอบแทน 0% ต่อปี) (ราคา 105-110 ผลตอบแทน 5%) (ราคามากกว่า 110 ผลตอบแทน 10% ต่อปี)ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับ กองทุนรวม Equity Complex Return เมื่อครบกำหนดอายุโครงการ | 1. หากราคาหุ้นสามัญ ABC เท่ากับ 99 บาท สมภพจะไม่ได้รับเงินคืนจากกองทุนรวมเลย 2. หากราคาหุ้นสามัญ ABC เท่ากับ 104 บาท สมภพจะได้รับเงินคืน 104,000 บาท 3. หากราคาหุ้นสามัญ ABC เท่ากับ 107 บาท สมภพจะได้รับเงินคืน 105,000บาท 4. หากราคาหุ้นสามัญ ABC เท่ากับ 115 บาท สมภพจะได้รับเงินคืน 115,000บาท | 3 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด หากราคาหุ้นสามัญ ABC เท่ากับ 99 บาท น้อยกว่า 105 บาท (ไม่ได้รับผลตอบแทน) สมภพจะได้รับเงินคืน 100,000 บาท ตัวเลือก 2 ผิด หากราคาหุ้นสามัญ ABC เท่ากับ 104 บาท น้อยกว่า 105 บาท (ไม่ได้รับผลตอบแทน) สมภพจะได้รับเงินคืน 100,000 บาท ตัวเลือก 3 ถูก หากราคาหุ้นสามัญ ABC เท่ากับ 107 บาท มากกว่า 105 บาท (จะได้ผลตอบแทน 5%) = 100,000 * (1.05%) สมภพจะได้รับเงินคืน 105,000 บาท ตัวเลือก 4 ผิด หากราคาหุ้นสามัญ ABC เท่ากับ 115 บาท มากกว่า -110 บาท (จะได้ผลตอบแทน 10%) = 100,000 * (1.10%) ส,4r0twfhiy[g'bo8no 110,000 บาท |
p2 | 16 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับ กองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | 1. กองทุนรวมทองคำ ที่ลงทุนผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทองคำ จะมีผลตอบแทนเทียบเท่ากับผลตอบแทนการลงทุนทองคำ ในตลาดโลก (Gold Spot Price) ทุกสิ้นวันจนกว่าจะครบอายุสัญญา 2. กองทุนรวมน้ำมันที่ลงทุนผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมัน จะมีความเสี่ยงเท่ากับความเสี่ยงที่ลงทุนในน้ำมันตลาดโลก Crude Oil Spot Price 3. กองทุนรวมน้ำมันที่ลงทุนใน Exchange Traded Funds ผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จะมีผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาและเงินปันผล (ถ้ามี) 4. ถูกทุกตัวเลือก | 3 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด กองทุนรวมทองคำที่ลงทุนผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทองคำจะมีผลตอบแทนแตกต่างจากผลตอบแทนการลงทุนทองคำในตลาดโลก (Gold Spot Price) เนื่องจากสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีหมดอายุและมีต้นทุนการเปลี่ยนสัญญา ตัวเลือก 2 ผิด กองทุนรวมน้ำมันที่ลงทุนผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันจะมีความเสี่ยงแตกต่างจากความเสี่ยงที่ลงทุนในน้ำมันตลาดโลก (Crude Oil Spot Price) เช่นมีความเสี่ยง basis risk ซึ่งเกิดจากราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อาจไม่สัมพันธ์กับราคา spot และความเสี่ยงที่อาจใช้เงินลงทุนน้อยเพื่อให้ได้สถานะการลงทุนที่มากขึ้นเป็นต้น ตัวเลือก 3 ถูก กองทุนรวมน้ำมันที่ลงทุนใน Exchange Traded Funds ผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะมีผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาและเงินปันผล (ถ้ามี) |
p2 | 17 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับ กองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้ | 1. Basis Risk คือความเสี่ยงที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่มีการส่งมอบจริงสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมัน จะมีความเสี่ยงการเปลี่ยนการลงทุนในระยะยาวสำหรับกองทุนรวมน้ำมันที่ลงทุนผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 2. สัญญาใหม่ Rollover Risk ใกล้เคียงศูนย์ 3. เทคโนโลยีล่าสุดที่สามารถสกัดน้ำมันจากชั้นหินดินดาน หรือ เชลล์ออยล์ มีผลต่อราคากองทุนรวมน้ำมัน 4. ถูกทุกตัวเลือก | 3 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด Basis Risk คือความเสี่ยงราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่แตกต่างจากราคาน้ำมันซื้อขายทันที ตัวเลือก 2 ผิด การลงทุนในระยะยาวสำหรับกองทุนรวมน้ำมันที่ลงทุนผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันจะมีความเสี่ยงการเปลี่ยนสัญญาใหม่ (Rollover Risk) สูงขึ้นจากต้นทุนธุรกรรม และ Basis Risk ที่อาจเป็น Contango หรือ Backwardation ตัวเลือก 3 ถูก เทคโนโลยี "Shale oil" มีผลต่อราคากองทุนรวมน้ำมัน หาก "Shale oil" ผลิตได้มากเพิ่มอุปทานน้ำมันในตลาดโลก ราคาน้ำมันจะลดลง |
p2 | 18 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับกองทุนรวมที่มีนโยบายที่ไม่จำกัดอัตราส่วนการลงทุน Hedge Fund | 1. เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากมีการป้องกันความเสี่ยงไว้แล้ว 2. มีข้อจำกัดการลงทุนมากกว่ากองทุนรวมปกติ เนื่องจากการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงมาก 3. สามารถยืมหุ้นมาขายก่อนและสามารถกู้ยืมเงินมาลงทุน 4. เหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการจำกัดความเสี่ยงในการลงทุน เช่น ผู้ลงทุนรายย่อย | 3 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด Hedge Fund ส่วนใหญ่เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมีนโยบายที่ไม่จำกัดอัตราส่วนการลงทุน สามารถกู้ยืมได้มากกว่ากองทุนรวมทั่วไป ตัวเลือก 2 ผิด Hedge Fund จะมีข้อจำกัดการลงทุนน้อยกว่ากองทุนรวมปกติ เนื่องจากต้องการความคล่องตัวในการลงทุนที่หลากหลาย ตัวเลือก 3 ถูก Hedge Fund จะมีข้อจำกัดการลงทุนน้อยกว่ากองทุนรวมปกติ ทำให้สามารถยืมหุ้นมาขายก่อน (Short Sell) และสามารถกู้ยืมเงินมาลงทุน ตัวเลือก 4 ผิด Hedge Fund เหมาะกับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงมาก ทำให้ในปัจจุบัน กองทุนประเภทนี้เสนอขายเฉพาะผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High-Net-Worth) เท่านั้น |
p2 | 19 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับกองทุนรวมที่มีนโยบายที่ไม่จำกัดอัตราส่วนการลงทุน Hedge Fund | 1. Hedge Fund และกองทุนรวมทั่วไปจะมีการกำกับดูแลที่เท่าเทียมกันจากทางการ 2. นักลงทุนรายย่อยสามารถลงทุนใน Hedge Fund ได้ แต่ต้องมีการติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด 3. Tactical Trading Strategy เป็นกองทุนรวมที่ใช้ความสามารถในการเก็งกำไรในการเคลื่อนไหวของราคาทรัพย์สิน 4. Relative Value Strategy เป็นกองทุนรวมที่ใช้ประโยชน์จากการลงทุนในกรณีที่บริษัทตกอยู่ในสภาวะพิเศษ | 3 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด Hedge Fund ส่วนใหญ่จะมีการกำกับดูแลน้อยกว่าการลงทุนในกองทุนรวมปกติ ดังนั้นผู้ลงทุนจะได้รับการคุ้มครองจากทางการน้อยกว่าการลงทุนในกองทุนรวมปกติ ตัวเลือก 2 ผิด ปัจจุบันกองทุนรวมประเภทนี้เสนอขายสำหรับนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth) เท่านั้น ตัวเลือก 3 ถูก Tactical Trading Strategy เป็นกองทุนรวมที่ใช้ความสามารถในการเก็งกำไรในการเคลื่อนไหวของราคาทรัพย์สิน ตัวเลือก 4 ผิด Relative Value Strategy เป็นกองทุนรวมที่ใช้การซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กันตั้งแต่ 2 หลักทรัพย์ขึ้นไป |
p2 | 20 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับกองทุนรวมที่มีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงแบบซับซ้อน | 1. กองทุนรวมที่ทำธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อการลดความเสี่ยง Hedging สามารถทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกินมูลค่าความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ถือครองได้ 2. ประโยชน์หนึ่งของการลงทุนในกองทุนรวมประเภทนี้คือสามารถลงทุนในรูปแบบใหม่ เช่น กลยุทธ์ที่ทำให้ผลตอบแทนของกองทุนรวมไม่เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับตลาด 3. กองทุนรวมประเภทนี้จะมีความเสี่ยงใกล้เคียงกองทุนรวมทั่วไป 4. ถูกทุกตัวเลือก | 2 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด กองทุนรวมที่ทำธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อการลดความเสี่ยง (Hedging) สามารถทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่ไม่เกินมูลค่าของความเสี่ยงที่มีอยู่ได้ มิฉะนั้นจะเป็นการ over-hedging ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงแทนที่จะลดความเสี่ยง ตัวเลือก 2 ถูก กองทุนรวมประเภทนี้จะสามารถลงทุนในกลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลายเช่นกลยุทธ์การลงทุนเพื่อให้ผลตอบแทนของกองทุนรวมไม่เคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงกันข้ามกับตลาด ตัวเลือก 3 ผิด กองทุนรวมประเภทนี้จะมีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนรวมทั่วไป |
p3 | 1 | ตัวเลือกใดไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | 1. สัญญาที่กำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งส่งมอบสินค้าให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ชำระราคา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตโดยมีจำนวนและราคาตามที่กำหนดในสัญญา 2. สินค้าอ้างอิงต้องเป็นสินค้าที่มีตัวตนเท่านั้น เนื่องจากต้องมีขั้นตอนการส่งมอบสินค้าภายหลังครบอายุสัญญา 3. สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นสัญญาทางการเงินที่มีอายุจำกัด 4. มีการใช้เงินลงทุนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเงินที่ใช้ลงทุนโดยตรงในสินค้าอ้างอิง | 2 | true | true | true | สินค้าอ้างอิง เป็นได้ทั้งสินค้าที่มีตัวตน และตัวแปรต่างๆ เช่น ดัชนีการเงิน อัตราดอกเบี้ย ซึ่งตัวแปรต่างๆ ไม่จำเป็นต้องส่งมอบสินค้า (Physical delivery) แต่จะใช้การชำระส่วนต่างเงินสด (Cash settlement) แทน |
p3 | 2 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างสัญญาฟอร์เวิร์ด และสัญญาฟิวเจอร์สได้ถูกต้อง | 1. สัญญาฟอร์เวิร์ด ซื้อขายในศูนย์กลางซื้อขายที่ตั้งขึ้นเป็นทางการ Exchange แต่สัญญาฟิวเจอร์ส มักซื้อขายในตลาดที่ไม่เป็นทางการ 2. สัญญาฟอร์เวิร์ด มีลักษณะความเป็นมาตรฐานมากกว่าสัญญาฟิวเจอร์ส 3. สัญญาฟอร์เวิร์ด มีความเสี่ยงของคู่สัญญาสูงกว่าสัญญาฟิวเจอร์ส 4. สัญญาฟอร์เวิร์ด จำเป็นต้องปรับมูลค่าตามราคาตลาด ทุกสิ้นวัน Mark to Market ในขณะที่ สัญญาฟิวเจอร์ส ไม่จำเป็นต้องปรับมูลค่าตามราคาตลาด | 3 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด การซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สซื้อขายในศูนย์ซื้อขาย [Exchange] แต่สัญญาฟอร์เวิร์ตเกิดจากการทำสัญญาตามความต้องการของคู่สัญญาจึงซื้อขายในตลาดต่อรองที่เป็นทางการ (OTC) ไม่เป็น ตัวเลือก 2 ผิด สัญญาฟิวเจอร์สมีความเป็นมาตรฐาน มีการกำหนดรูปแบบสัญญา [contract specification] ทุกสัญญาเหมือนกันหมด แต่สัญญาฟอร์เวิร์ตสามารถตกลงตามความต้องการของคู่สัญญา [customized contracts] ตัวเลือก 3 ถูก สัญญาฟอร์เวิร์ตเป็นการทำสัญญากันเองระหว่างนักลงทุนจึงมีความเสี่ยงคู่ของสัญญาสูงกว่าสัญญาฟิวเจอร์สซึ่งมีสำนักหักบัญชีเป็นฝ่ายกลางในสัญญาจึงไม่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ ตัวเลือก 4 ผิด สัญญาฟิวเจอร์สต้องมีการปรับมูลค่าทุกสิ้นวันทำการ ในขณะที่สัญญาฟอร์เวิร์ตมีการชำระและส่งมอบครั้งเดียวในวันที่ตรงกับกำหนดสัญญา |
p3 | 3 | ตัวเลือกใด ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประเภทของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | 1. สัญญาฟอร์เวิร์ด เป็นสัญญาแบบพันธะผูกพัน 2. สัญญาออปชัน เป็นสัญญาแบบสิทธิเรียกร้อง Contingent Claimสัญญาฟิวเจอร์ส เป็นสัญญาแบบสิทธิเรียกร้อง 3. Claimสัญญาฟิวเจอร์ส เป็นสัญญาแบบสิทธิเรียกร้อง 4. สัญญาสวอป เป็นสัญญาแบบพันธะผูกพัน | 3 | true | true | true | สัญญาฟอร์เวิร์ด, สัญญาฟิวเจอร์ส, และสัญญาสวอป เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบพันธะผูกพัน ส่วนสัญญาออปชันเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบสิทธิเรียกร้อง |
p3 | 4 | ตัวเลือกใดไม่ใช่ ประโยชน์ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า | 1. ใช้บริหารความเสี่ยงจากราคา 2. ใช้ทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคา 3. ใช้เป็นเครื่องมือสะท้อนราคาของสินค้าอ้างอิงในอนาคต 4. ใช้เป็นแหล่งระดมทุนสำหรับบริษัท | 4 | true | true | true | สัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่ใช่แหล่งระดมทุนของบริษัท |
p3 | 5 | นาย ก ลงทุนในหุ้นที่อยู่ใน SET 50 ต่อมา นาย ก คาดการณ์ว่า ราคาหุ้นจะปรับ ลดลงในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า จึงขายชอร์ต SET50 Index Futures จากการกระทำ ดังกล่าว แสดงว่า นาย ก เป็นผู้ลงทุนในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทใด | 1. ผู้เก็งกำไร 2. ผู้ประกันความเสี่ยง 3. ผู้ค้ากำไร 4. ผู้ดูแลสภาพคล่อง | 2 | true | true | true | นาย ก. เป็นผู้ประกันความเสี่ยง โดยการขายชอร์ต SET50 Index Futures เพื่อนำกำไร (ขาดทุน) จาก SET50 Index Futures ไปหักล้างกับขาดทุน (กำไร) จากหุ้นใน SET50 ที่ถืออยู่ |
p3 | 6 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับสัญญาฟิวเจอร์ส | 1. ลักษณะของเป็นการต่อรองโดยตรงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดที่ไม่เป็นทางการ (OTC) 2. สัญญาฟิวเจอร์ส ถูกออกแบบให้เป็นสัญญาที่สามารถตกลงตามความต้องการของคู่สัญญาได้ 3. สัญญาฟิวเจอร์ส มีความเสี่ยง ที่จะเกิดการผิดนัดการชำระราคาและส่งมอบของคู่สัญญา 4. มีสภาพคล่องต่ำ ในการซื้อขายเปลี่ยนมือ | 3 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด สัญญาฟิวเจอร์สซื้อขายในศูนย์ซื้อขาย [Exchange] ตัวเลือก 2 ผิด สัญญาฟิวเจอร์สถูกออกแบบให้เป็นสัญญามาตรฐานในขณะที่สัญญาฟอร์เวิร์ตสามารถตกลงตามความต้องการของคู่สัญญา [customized contract] ตัวเลือก 3 ถูก สัญญาฟิวเจอร์สมีสำนักหักบัญชีเป็นตัวกลางในการจัดการ [Clearing House] เป็นคู่สัญญาจึงไม่มีความกังวลเรื่องการผิดนัดชำระราคา ตัวเลือก 4 ผิด สัญญาฟิวเจอร์สมีสภาพคล่องสูง เนื่องจากสามารถทำการซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาดรองได้โดยสะดวก |
p3 | 7 | ตัวเลือกใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสัญญาฟิวเจอร์ส | 1. สัญญาฟิวเจอร์สเป็นสัญญามาตรฐานที่มีการระบุข้อกำหนดต่างๆ ไว้ชัดเจน ผู้ซื้อและขายจะต่อรองเพียงราคาที่ซื้อขายล่วงหน้าและจำนวนสัญญาเท่านั้น 2. สัญญาฟิวเจอร์สที่อ้างอิงสินค้าเกษตรต้องกำหนดคุณภาพและเกรดสินค้าที่จะใช้ในการส่งมอบ หากสินค้าที่ส่งมอบจริงมีคุณภาพแตกต่างจากที่กำหนดจะมีสูตรปรับราคาให้สอดคล้องกับคุณภาพของสินทรัพย์ที่จะส่งมอบ 3. สัญญาฟิวเจอร์สไม่มีกำหนดช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาสูงสุด สำหรับการซื้อขายในแต่ละวัน Dairy Price Limitแต่จะขึ้นกับการต่อรองราคาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเป็นสำคัญ 4. สัญญาฟิวเจอร์ส สามารถซื้อขายเพื่อเปลี่ยนมือในตลาดรองได้โดยไม่ต้องได้รับ ความยินยอมจากคู่สัญญาเดิม | 3 | true | true | true | สัญญาฟิวเจอร์สมีการกำหนดช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาสูงสุดแต่ละวัน (Daily Price Limit) ขึ้นกับประเภทสินค้าตามประกาศของตลาดอนุพันธ์ |
p3 | 8 | นายเกษม ขายสัญญาฟิวเจอร์สของหุ้นสามัญ จำนวน 1 สัญญา ที่ราคาฟิวเจอร์ส 100 บาทต่อหุ้น สัญญามีอายุ 3 เดือน ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับผลตอบแทนและความเสี่ยงของสัญญาฟิวเจอร์ส | 1. หากสิ้นวัน ราคาฟิวเจอร์สของหุ้นสามัญ เท่ากับ 90 บาท นายเกษมจะได้กำไรจากการถือสัญญาฟิวเจอร์ส 2. หากราคาหุ้นสามัญ ปรับตัวลดลง นายเกษมมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนจากการขายสัญญาฟิวเจอร์ส 3. หากในวันหมดอายุสัญญา ราคาของสามัญ เท่ากับ 110 บาท นายเกษมจะมีกำไรจากการขายสัญญาฟิวเจอร์ส 4. ทุกตัวเลือกถูกต้อง | 1 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ถูก หากสิ้นวันราคาฟิวเจอร์สของหุ้นสามัญ ABC เท่ากับ 90 บาท/หุ้น ผลตอบแทน = ขาย(100) - ซื้อ(90) = +10 บาท /หุ้น ดังนั้น นายเกษมมีกำไรจากการขายสัญญาฟิวเจอร์ส 10 บาท/หุ้น ตัวเลือก 2 ผิด หากราคาหุ้นสามัญ ABC ปรับตัวลดลง ราคาฟิวเจอร์สมีแนวโน้มลดลง นายเกษมขายสัญญาฟิวเจอร์ส ดังนั้นจะมีกำไร ตัวเลือก 3 ผิด หากในวันหมดอายุสัญญา ราคาหุ้นสามัญ ABC เท่ากับ 110 บาท ผลตอบแทน = ขาย(100) - ซื้อ(110) = -10 บาท /หุ้น นายเกษมขาดทุนจากการขายสัญญาฟิวเจอร์ส 10 บาท/หุ้น |
p3 | 9 | ตัวเลือกใดถูกต้องเกี่ยวกับการกำหนดราคาสัญญาฟิวเจอร์ส | 1. ราคาฟิวเจอร์สที่เป็นราคายุติธรรม จะต้องเป็นราคาที่ทำให้มูลค่าสุทธิของสัญญา ณ วันทำ สัญญา มีมูลค่าเป็นบวก จากทั้งมุมมองของผู้ซื้อและผู้ขาย 2. ราคาฟอร์เวิร์ดที่เป็นราคายุติธรรม จะต้องเป็นราคาที่ทำให้มูลค่าสุทธิของสัญญา ณ วันทำ สัญญา มีมูลค่าเป็นลบ จากทั้งมุมมองของผู้ซื้อและผู้ขาย 3. ราคาฟิวเจอร์สที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเหมือนกัน คุณภาพสินค้าเหมือนกัน แม้อายุสัญญาแตก ต่างกัน จะมีราคาฟิวเจอร์สที่เท่ากัน 4. ณดุลยภาพราคา ณวันส่งมอบ ราคาฟิวเจอร์สจะมีค่าเท่ากับราคาสินค้าอ้างอิง (Spot price) | 4 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด ราคาฟิวเจอร์สที่เป็นราคายุติธรรมจะต้องเป็นราคาที่ทำให้มูลค่าสุทธิของสัญญาณวันทำสัญญามีมูลค่าเป็นศูนย์จากทั้งมุมมองของผู้ซื้อและผู้ขาย ตัวเลือก 2 ผิด ราคาฟอร์เวิร์ดที่เป็นราคายุติธรรมจะต้องเป็นราคาที่ทำให้มูลค่าสุทธิของสัญญาณวันทำสัญญามีมูลค่าเป็นศูนย์จากทั้งมุมมองของผู้ซื้อและผู้ขาย ตัวเลือก 3 ผิด ราคาฟิวเจอร์สที่มีอายุสัญญาแตกต่างกันจะมีราคาฟิวเจอร์สแตกต่างกันตามเดือนส่งมอบเพราะอายุสัญญาเป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดราคาฟิวเจอร์ส ตัวเลือก 4 ถูก ณ ตอนสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญา ราคาณวันส่งมอบจะไม่มีโอกาสทำกำไรจากการทำอาร์บิทราจ ราคาฟิวเจอร์สจะเท่ากับราคาสินค้าอ้างอิง (Spot price) |
p3 | 10 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ไม่ใช่ปัจจัยในการกำหนดราคาฟิวเจอร์สของสินค้าโภคภัณฑ์ | 1. ประโยชน์จากการถือครองสินทรัพย์อ้างอิง 2. เงินปันผล 3. ต้นทุนค่าเก็บรักษาสินค้า 4. ต้นทุนค่าขนส่งสินค้า | 2 | true | true | true | เงินปันผลไม่ใช่ปัจจัยในการกำหนดราคาฟิวเจอร์สของสินค้าโภคภัณฑ์ แต่เป็นปัจจัยในการกำหนดราคาฟิวเจอร์สของหุ้นสามัญ |
p3 | 11 | ค่าเบส (Basis) ของสัญญาฟิวเจอร์สของตราสารทางการเงินเมื่อถึงวันครบกำหนดอายุของสัญญามีค่าเท่าใด | 1. มีค่าเป็นบวก 2. มีค่าเป็นลบ 3. มีค่าเท่ากับศูนย์ 4. มีค่าเท่ากับราคาสินค้าอ้างอิง | 3 | true | true | true | Basis = F - S เนื่องจากการบรรจบของราคาระหว่างราคาสัญญาฟิวเจอร์สและราคาปัจจุบันเมื่อถึงวันครบกำหนดอายุของสัญญาฟิวเจอร์ส ดังนั้นค่าเบซิสจึงมีค่าเท่ากับศูนย์เมื่อถึงวันครบกำหนดอายุของสัญญาฟิวเจอร์ส |
p3 | 12 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับเบสของสัญญาฟิวเจอร์ส | 1. เบส คือ ผลรวมของราคาสัญญาฟิวเจอร์ส กับราคาสินทรัพย์อ้างอิง (Spot price) จะทำให้เบสกว้างขึ้น 2. หากราคาสัญญาฟิวเจอร์สเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาสินทรัพย์อ้างอิง (Spot price) จะทำให้เบสกว้างขึ้น 3. หากอัตราจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นในขณะที่ปัจจัยอื่นคงที่ จะทำให้เบสของสัญญาฟิวเจอร์สหุ้นสามัญกว้างขึ้น 4. หากต้นทุนค่าขนส่งและค่าเก็บรักษาลดลง โดยปัจจัยอื่นคงที่ จะทำให้เบสของสัญญาฟิวเจอร์สินค้าเกษตรกว้างขึ้น | 2 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด เบซิสคือผลต่างระหว่างราคาสัญญาฟิวเจอร์สกับราคาสินทรัพย์อ้างอิง (Spot price) หรือ Basis = F - S ตัวเลือก 2 ถูก หากราคาสัญญาฟิวเจอร์ส F เพิ่มขึ้นมากกว่าราคาสินทรัพย์อ้างอิง S, จะทำให้ผลต่างระหว่างราคาฟิวเจอร์สกับราคาสินทรัพย์อ้างอิงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เบซิสกว้างขึ้น ตัวเลือก 3 ผิด หากอัตราจ่ายเงินปันผล (Y) เพิ่มขึ้นในขณะที่ปัจจัยอื่นคงที่ ราคาสัญญาฟิวเจอร์สจะลดลง F = S + C - Y ส่งผลทำให้เบซิสของสัญญาฟิวเจอร์สหุ้นสามัญแคบลง ตัวเลือก 4 ผิด หากค่าขนส่งและค่าเก็บรักษา (C) ลดลงในขณะที่ปัจจัยอื่นคงที่ ราคาสัญญาฟิวเจอร์สจะลดลง F = S + C - V ส่งผลทำให้เบซิสของสัญญาฟิวเจอร์สสินค้าเกษตรแคบลง |
p3 | 13 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับสเปรดของสัญญาฟิวเจอร์ส | 1. Calendar Spread คือ ผลรวมของราคาสัญญาฟิวเจอร์ส 2 สัญญา ที่มีสินค้าอ้างอิงประเภทเดียวกัน แต่แตกต่างที่วันหมดอายุ 2. Bull Spread จะใช้เมื่อคาดการณ์ว่าราคาสัญญาฟิวเจอร์สเดือนส่งมอบใกล้จะมีราคาสูงขึ้น โดยเปรียบเทียบกับเดือนส่งมอบไกล 3. การสร้างสเปรดจะต้องมีสถานะบนสัญญาฟิวเจอร์สอย่างน้อย 2 สถานะ โดยสถานะซื้อสัญญาฟิวเจอร์สหนึ่งพร้อมกับสถานะขายสัญญาฟิวเจอร์สอีกสัญญาหนึ่ง 4. ถูกทุกตัวเลือก | 3 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด Calendar Spread คือผลต่างระหว่างราคาสัญญาฟิวเจอร์ส 2 สัญญาที่มีสินค้าอ้างอิงประเภทเดียวกันแต่แตกต่างที่วันหมดอายุ Spread = F2 - F1 ตัวเลือก 2 ผิด Bull Spread คือสเปรดขาขึ้น จะใช้เมื่อคาดการณ์ราคาฟิวเจอร์สเดือนส่งมอบไกลจะมีราคาสูงขึ้นโดยเปรียบเทียบกับเดือนส่งมอบใกล้ ตัวเลือก 3 ถูก การสร้างสเปรดจะต้องมีสถานะบนสัญญาฟิวเจอร์สอย่างน้อย 2 สถานะ โดยสถานะซื้อสัญญาฟิวเจอร์สหนึ่งพร้อมกับสถานะขายสัญญาฟิวเจอร์สอีกสัญญาหนึ่ง |
p3 | 14 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้สัญญาฟิวเจอร์ส | 1. การสร้างผลกำไรจากทิศทางตลาด (Directional Bet) เป็นการใช้สัญญาฟิวเจอร์สเพื่อการตัวความเสี่ยง (Hedging) 2. การสร้างผลกำไรจากการเปิดสถานะบนสเปรด (Spread) เป็นการใช้สัญญาฟิวเจอร์สเพื่อการเก็งกำไร (Speculation) 3. การสร้างผลกำไรโดยปราศจากความเสี่ยง เป็นการใช้สัญญาฟิวเจอร์สเพื่อการตัวความเสี่ยง (Hedging) 4. ถูกทุกตัวเลือก | 2 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด การสร้างผลกำไรจากทิศทางตลาด (Directional Bet) เป็นการใช้สัญญาฟิวเจอร์สเพื่อการเก็งกำไร (Speculation) ตัวเลือก 2 ถูก การสร้างผลกำไรจากการเปิดสถานะบนสเปรด (Spread) เป็นการใช้สัญญาฟิวเจอร์สเพื่อการเก็งกำไร (Speculation) ตัวเลือก 3 ผิด การสร้างผลกำไรโดยปราศจากความเสี่ยง เป็นการใช้สัญญาฟิวเจอร์สเพื่อการลงทุนแบบอาร์บิทราจ (Arbitrage) |
p3 | 15 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สัญญาฟิวเจอร์สเพื่อตัวความเสี่ยงจากการลงทุน | 1. วัตถุประสงค์หลักในการถวความเสี่ยงคือเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงสุด 2. นักลงทุนที่ซื้อหุ้นสามัญและมีความกังวลว่าราคาจะปรับลดลง จะตัวความเสี่ยงด้วยการ Short Single Stock Futures 3. เป็นเครื่องวัดความเสี่ยงที่เป็นไม่เป็นระบบ 4. Partial hedge คือ การกำจัดความเสี่ยงเฉพาะความเสี่ยงด้วยการผิดนัดการชำระราคาและส่งมอบ | 2 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด วัตถุประสงค์หลักในการบริหารความเสี่ยงคือเพื่อบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ตัวเลือก 2 ถูก นักลงทุนที่ซื้อหุ้นสามัญและมีความกังวลว่าราคาจะปรับลดลง จะบริหารความเสี่ยงโดยการ Short Single Stock Futures ซึ่งจะทำให้เกิดการหักล้างของราคา Spot กับราคาฟิวเจอร์สทำให้ความเสี่ยงโดยรวมลดลง ตัวเลือก 3 ผิด Beta เป็นเครื่องมือวัดความเสี่ยงที่เป็นระบบ ตัวเลือก 4 ผิด Partial hedge คือการกำจัดความเสี่ยงของราคาต้นทุน โดยรักษาสถานะการ Hedge เพียงบางส่วนของมูลค่าหลักทรัพย์ทั้งหมด |
p3 | 16 | ตัวเลือกใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สัญญาฟิวเจอร์สเพื่อเก็งกำไร | 1. หากคาดการณ์ว่าราคาทองคำ จะลดลงในอนาคต นักลงทุนจะเก็งกำไรโดยการ Long Gold Futures 2. หากเบสสหมีแนวโน้มกว้างขึ้นต่อเนื่อง นักลงทุนจะเก็งกำไรโดยการซื้อสัญญาฟิวเจอร์สเตือนไกล พร้อมกับขายสัญญาฟิวเจอร์สเตือนใกล้ 3. การลงทุน สเปรต และ เบสส จะมุ่งเน้นเก็งกำไรทิศทางราคา (Directional Bet) เป็นสำคัญ 4. หากคาดการณ์ว่า ราคาหุ้นสามัญ จะปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง นักลงทุนจะเก็งกำไรโดยการ Long Gold Futures | 2 | true | true | true | ตัวเลือก 1 ผิด หากคาดการณ์ว่าราคาทองคำจะลดลง นักลงทุนควรเก็งกำไรโดยการShort Gold Futures ตัวเลือก 2 ถูก หากเบซิสมีแนวโน้มกว้างขึ้นต่อเนื่อง นักลงทุนควรเก็งกำไรโดยการซื้อสัญญาฟิวเจอร์สเดือนไกลพร้อมขายสัญญาฟิวเจอร์สเดือนใกล้ โดยนักลงทุนจะได้กำไรจากการปรับตัวสูงขึ้นของสัญญาฟิวเจอร์สเดือนไกลที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าการปรับตัวสูงขึ้นของสัญญาฟิวเจอร์สเดือนใกล้ ตัวเลือก 3 ผิด การลงทุนในสเปรดและเบซิสจะไม่สนใจทิศทางราคา แต่สนใจการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เท่ากันของแต่ละตลาดและ/หรือเดือนส่งมอบที่ต่างกัน ตัวเลือก 4 ผิด หากคาดการณ์ราคาหุ้นสามัญจะปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง นักลงทุนควรเก็งกำไรโดยการLong Stock Futures ไม่ใช่ Long Gold Futures |
Thai Public Investment Consultant (IC) Exams Dataset
Overview
This dataset comprises a collection of exam questions and answers from the Thai Public Investment Consultant (IC) Examinations. It's a valuable resource for developing and evaluating question-answering systems in the finance sector.
Dataset Source
The Stock Exchange of Thailand (SET)
Maintainer
Dr. Kobkrit Viriyayudhakorn Email: [email protected]
Dataset Description
This dataset is a meticulously curated collection of examination materials for the Thai Public Investment Consultant (IC) exams. It includes a variety of features to facilitate research and development in the field of question-answering systems, particularly within the finance sector.
Key Features
- Split Data: The dataset is divided into training and testing sets, allowing for effective model training and evaluation.
- Question Format: All questions are provided in text format.
- Multiple Choice Questions: The dataset includes multiple choice questions, offering a range of possible answers for each query.
- Solutions: Correct answers to all questions are provided.
- Solution Explanation: Detailed explanations accompany each solution, offering insights into the reasoning behind the correct answers.
- Thai Human Verification: Each item in the dataset has been verified by a Thai-speaking individual who is not a domain expert, ensuring the clarity and accessibility of the content.
- Extra Annotations:
isAnswerable
: Indicates whether the question can be answered with the provided text alone, without the need for additional information such as visual aids.isMultipleChoice
: Identifies if the question is a multiple choice question.isSingleChoiceSolution
: Specifies if there is only one correct answer among the provided choices.
Data Structure
The dataset is divided into different sections based on the complexity and type of exams:
IC Basic Level (ic_ex)
IC Plain Level (ic_plain)
IC Complex Level Part 2 (ic_p2)
IC Complex Level Part 3 (ic_p3)
Usage
This dataset is particularly useful for researchers and developers focusing on AI and machine learning applications in the finance sector. It provides a realistic and challenging environment for training and testing question-answering systems.
Compliance and Verification
The dataset adheres to the highest standards of academic and research integrity. All data has been verified for accuracy and relevance, ensuring its reliability for educational and research purposes.
For comprehensive usage guidelines and licensing details, refer to the Apache 2.0 License.
Acknowledgements
The dataset is a collaborative effort between Dr. Kobkrit Viriyayudhakorn and The Stock Exchange of Thailand (SET), reflecting their commitment to advancing the field of financial education and AI research.
- Downloads last month
- 47